วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม การพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กฤษณา นันขันตี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไฟฟ้าเคมี 2 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 22 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียน เรื่องรู้ไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นทั้ง 6 ชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.86/84.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.36 คะแนน และ 35.09 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการทดสอบทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนเรียนและทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.18 คะแนน และ 17.82 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียน เรื่องไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.36

Article Details

How to Cite
นันขันตี ก. . . (2023). วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาร่วมกับชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าเคมี 2 เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 . วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(1). สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/1858
บท
Academic article
Share |

References

กฤษณา ชุติมา. (2549). หลักเคมีทั่วไป เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิพวรรณ เมืองมูล. (2561). การพัฒนาแนวคิดและทักษะการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในรายวิชาเคมี หน่วย กรด-เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ วท.ม เคมีศึกษา : ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม, อภิชาต การพิมพ์.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมเรื่องระบบนิเวศในโรงเรียน สำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัดชณา จิตรักศิลป์. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง แรงการเคลื่อนที่และพลังงานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, วารสารวิชาการ. หลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(27), น.87–97.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557) ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สุรสิทธิ์ จิตเรณู. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์ ค.ม. : มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2554). กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา : แนวคิดสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์, 2554.