วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและ การประยุกต์ใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Main Article Content

สุรพงศ์ รัตนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐานและประยุกต์ใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564            ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น จำนวน 38 คน ชาย 12 คน หญิง 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรง จำนวน 6 แผน แบบประเมินความสามารถในการสร้างแบบจำลอง  4 องค์ประกอบคือ การสร้างแบบจำลอง การใช้แบบจำลอง การประเมินแบบจำลอง และการปรับปรุง โดยมีการปฏิบัติ 2 วงรอบ วงรอบละ 3 แผนการจัดการเรียนรู้


          ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการสร้างแบบจำลองเพิ่มขั้น โดยความสามารถในการสร้างแบบจำลองในภาพรวม ในวงรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 73.75 ส่วนในวงรอบที่ 2 ความสามารถในการสร้างแบบจำลองในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 87.00 การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการประยุกต์ใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่อง แรง ได้

Article Details

How to Cite
รัตนะ ส. . (2023). วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม : การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและ การประยุกต์ใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(1). สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/1859
บท
Academic article
Share |

References

ณัฐพล กวดไทย และสุมาลี ชูกำแพง. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสร้าง แบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาชีววิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 14(2), น.63-71.

ธีรตา ชาติวรรณ, ธิติยา บงกชเพชร และอนุสรณ์ วรสิงห์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบจำลอง เป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิดของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พันธะโควาเลนต์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), น.266–281.

ปวีนา งามชัด และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2557) การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการเปลี่ยนแปลงมโนมติเรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อใช้ยุทธศาสตร์ การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา,

(1), น.164–171.

พรรณนภา อนิวรรตนวงศ์ และร่มเกล้า จันทราษี. (2562). การประเมินผลของการสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับการใช้การเชื่อมโยงหลักฐานและแบบจำลองที่มีต่อการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่องสารละลายอิเล็กโทรไลต์และนอนอิเล็กโทรไลต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 5(1), 65-83.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์ ชาตรี ฝ่ายคำตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง โครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(1), น.97-124

วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 29-49. วลิดา อุ่นเรือน และ AytchK.D. (2564). การเรียนรู้แบบร่วมมือกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับผู้เรียน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 8(2), น.124-136.

วัลลภ ปริญทอง และประสาท เนืองเฉลิม. (2563). การพัฒนาทักษะการสร้างแบบจำลอง เรื่อง กรดและเบสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(3), น.89-100.

สิริญญา บาลธนะจักร์ และวิมล สำราญวานิช. (2559). การเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 5(4), น.102–109. หนึ่งฤทัย เกียรติพิมล พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ และรสริน พลวัฒน์. (2560). ผลของการใช้แนวคิดการสร้างตัวแทนความคิดที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(1), น.188–203.

Bodner, G. M. (1986). Constructivism: A theory of knowledge. Journal of Chemical Education, 63(10), p.873-877.

Buckley, B. C., & Boulter, C. J. (2000). Investigating the role of representations and expressed models in building mental models. In J. K. Gilbert, & C. J. Boulter (Eds.), Developing Models in Science Education (p.119-135). Springer, Dordrecht. https://doi.org/10.1007/978-94-010-0876-1_6.

Gilbert, J. K. (2004). Models and modelling: Routes to more authentic science education. International Journal of Science and Mathematics Education, 2(2), p.115–130.

Gobert, J. D., & Buckley, C. (2000). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22(9), p.891–894.

Justi, R., & Gilbert, J. K. (2002). Models and modeling in chemical education. In J. K.Gilbert (Ed.), Chemical Education: Toward research-based Practice (p.47–68). Dordrecht: Kluwer Academic.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University. Schwarz, C. V. (2009). A Learning Progression of Elementary Teachers’ Knowledge and Practices for Model-Based Scientific Inquiry. In Aera (p.1–16).