วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

Main Article Content

อุษณา ป้อมลิขิตกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสร้างความรู้ ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 36 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2562 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 15 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1) ทดสอบก่อนเรียน 2) ตรวจให้คะแนนและนำคะแนนที่ได้ไปหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) ทำการทดลอง โดยใช้ชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สอนจำนวน 12 ชั่วโมงตามแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน 4) ทำการทดสอบเพื่อวัดการคิดสร้างสรรค์ 5) นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 1 ฉบับ รวม 15 ข้อ ใช้เวลา 20 นาที สถิติที่ใช้โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) และ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง


ผลการวิจัยพบว่า 1)  ประสิทธิภาพชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีผลการทดสอบระหว่างเรียนมีคิดเป็นร้อยละ 84.49 และทดสอบหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 87.50 มีประสิทธิภาพ 84.49/87.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงว่าชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ได้ 2) ผลการเปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 9.89 และ 26.25 คะแนน และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกณฑ์กับคะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียนพบว่า คะแนนสอบของผู้เรียน หลังเรียน สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เท่ากับ 0.8135 ซึ่งหมายความว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 0.50 ขึ้นไป 4) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดงดาวแจ้งพัฒนศึกษาที่มีต่อชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามเกณฑ์ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าเฉลี่ยของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 โดยที่รายการที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดคือ การออกแบบของชุดการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ของตกแต่งจากวัสดุท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ มีขนาดที่เหมาะสม gif.latex?(\bar{x}) = 4.75, S.D. = 0.55) แปรความอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Academic article
Share |

References

เจษฎา สินมาก. (2557). รายงานการพัฒนาชุดหนังสือที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ทวีปยุโรป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย. ภูเก็ต: โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต.

ฉัตรอนงค์ คำดีราช. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นุชนาฎ เนสุสินธุ์. (2559). ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดสร้างความรู้ตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 39(3): กรกฎาคม - กันยายน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

พรศิริ อุทัยวรรณ. (2562). สมรรถนะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมท่งกลางเมืองสีสัตตะนาก นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 39(3): มกราคม – มีนาคม.

พานทอง มูลบัวพา. (2559). การพัฒนาชุดการสร้างความรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2545). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม. ขอนแก่น: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).