Educational Innovation to Develop Learning Management Using the Virtual World Program (Metaverse) Combined with the Flipped Classroom Technique on the Development of Thailand in the Rattanakosin Period for 6th Grade Students of Mueang Khlung Municipality School 1 (Bura Wittayakarn) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม โลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ , สุธี วรินทร์กุล, ณัชชารีย์ สุทธิดา

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยโปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งเชิงทดลอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน 3)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) โดยมีกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑(บุรวิทยาคาร) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุงจังหวัดจันทบุรีจำนวน 40 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยแสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบ ค่า t (t – test แบบ dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดลองหาประประสิทธิภาพของโปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.09/82.46 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 หลังเรียนด้วยโปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 13.00 และ 32.23 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามลำดับ และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยโปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน มีความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: นวัตกรรมการศึกษา โปรแกรมโลกเสมือนจริง เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน

The objectives of this research were 1) to develop the innovation in learning management by using the virtual world program (Metaverse) combined with the flipped classroom technique on the development of Thailand in the Rattanakosin period to be effective according to the criteria of E1/E2 = 80/80, 2) to compare the academic achievement before and after studying with the virtual world program (Metaverse) combined with the flipped classroom technique on Thai development in the Rattanakosin period, and 3) to the study student satisfaction with the virtual world program (Metaverse) combined with the flipped classroom technique on the development of Thailand in the Rattanakosin period. This research was quasi-experimental research which the sample size consisted of 40 students determined from Cluster Random Sampling. The research tools included: 1) a virtual world program (Metaverse) on
the development of Thailand in the Rattanakosin period, 2) a learning management plan on the development of Thailand in the Rattanakosin period combined with the flipped classroom technique, 3) an academic achievement test on the development of Thailand in the Rattanakosin period, and 4) a questionnaire on satisfaction with the virtual world program (Metaverse). The experimental group was 6th grade students who were studying in the 1st semester of academic year 2023 at Mueang Khlung Municipal School 1 (Bura Wittayakarn) under the Education Division of Khlung Municipality, Khlung District, Chanthaburi Province, totaling 40 students which was a group whose academic achievement was below the criteria determined by schools. The quantitative data were analyzed by showing mean and standard deviation and t-test (dependent t-test).
The research results found that 1) results of an experiment to find the efficiency of the virtual world program (Metaverse) combined with the flipped classroom technique on the development of Thailand in the Rattanakosin period had an efficiency value of E1/E2 = 81.09/82.46, which was higher than the specified criteria. 2) The pre-study and post-study achievement test of 6th grade students studying with virtual world program (Metaverse) combined with the flipped classroom technique revealed higher test scores after studying than before studying which average scores equal to 13.00 and 32.23 points with statistical significance at the .05 level, respectively. 3) The students revealed the highest level of their satisfaction towards learning with the virtual world program (Metaverse) combined with the flipped classroom technique.
Keywords: Educational Innovation, Virtual World Program (Metaverse), Flipped Classroom Technique

Article Details

How to Cite
วรพงศ์พัชร์ ณ. (2023). Educational Innovation to Develop Learning Management Using the Virtual World Program (Metaverse) Combined with the Flipped Classroom Technique on the Development of Thailand in the Rattanakosin Period for 6th Grade Students of Mueang Khlung Municipality School 1 (Bura Wittayakarn) นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม โลกเสมือนจริง (Metaverse) ร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) : ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ , สุธี วรินทร์กุล, ณัชชารีย์ สุทธิดา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 1–12. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/2435 (Original work published 29 ธันวาคม 2023)
บท
research article
Author Biography

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

นนทบุรี
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564).

http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/EducationPlan12.pdf

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2566). นวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโมไบล์เลิร์นนิงเรื่องแหล่งโบราณสถานบริเวณเมืองเก่า

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวิทยา โดยใช้โปรแกรมโลกเสมือนจริง (Metaverse). วารสารวิชาการ

อยุธยาศึกษา, 15(1), 119-133.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, อภิสิทธิ์ ทุริยานนท์, อรอนงค์ โพธิจักร, อพิเชษฐ กิจเกษม เหมิ และปวีณา จันทร์ไทย. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์(E -Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 โรงเรียนจิ่นเต๊อะแก่งคอย สำนักงานคณะ

กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(2), 28-42.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์, แสงระวี จรัสน้อยศิริ, สุรพล หิรัญพต, และแก้วใจ พิชชามณฑ์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาบทเรียน M–Learning ร่วม

กับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาครชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา.

วารสารชัยภูมิปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ, 5(3), 28-40.

ปาณิสรา สิงหพงษ์. (2560). การจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์(ง31231)

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนสายปัญญารังสิต. วิจัยของคุรุสภา “ระดับชมเชย” ประจำปี 2562 “ระดับประเทศ

http://file:///C:/Users/BOONLOM/Downloads/Documents/25630402_093123_1617.pdf

สมศักดิ์ ชูโต. (2527). “ประวัติศาสตร์” ใน ปรัชญาประวัติศาสตร์, ชาญวิทย์เกษตรศิริและสุชาติสวัสดิ์ศรี, บรรณาธิการ. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และ

มนุษยศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.