A การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

Main Article Content

Wijitra Sopheng

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ 5 สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษาที่ออกฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 111 คน โดยแบ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 57 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 5 จำนวน 54 คน ซึ่งฝึก
ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 1/2565 และ 2/2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่และร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษา ในแต่ละด้าน เป็นดังนี้ 1) ด้านการจัดการเรียนรู้ มีปัญหาอุปสรรคในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้มากที่สุด 2) ด้านการวิจัยในชั้นเรียน มีปัญหา
อุปสรรคในการเลือกประเด็นปัญหามากที่สุด 3) ด้านงานพิเศษที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนมีปัญหาอุปสรรคในจำนวนภาระงานที่ได้รับมากที่สุด 4) ด้านการนิเทศ มีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับครูพี่เลี้ยงมากที่สุด และ 5) ด้านการปฐมนิเทศ มีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับบรรยากาศมากที่สุด และการสัมมนาหลังออกฝึก มีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความเหมาะสมของกำหนดการมากที่สุด
คำสำคัญ: การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ปัญหาอุปสรรค


The aim of this research was to study the obstacle problems of internship in schools for mathematics teacher students in the academic year 2022. The target groups used in this research consisted of 111 students including 57 4th students who had practiced teaching at schools for 1 semester: the 1st semester of academic year 2022, and 54 5th year students who had practiced teaching at schools for 2
semesters: the 1st semester and the 2nd semester of academic year 2022. The research instrument was a questionnaire on obstacle problems in teaching practice. The statistics used in data analysis included frequency and percentage. The data were analyzed by using descriptive analysis. The research results revealed the obstacle problems in teaching practice for students in each aspect as follows: 1) learning management, it revealed the most obstacle problems in writing learning management plans; 2) classroom research, it revealed the most obstacle problems in choosing the problem issues; 3) special work assigned by schools, it revealed the most obstacle problems in the maximum amount of workload received; 4) supervision, it revealed the most obstacle problems related to mentor teachers; and 5) orientation, it revealed the most obstacle problems related to the atmosphere and also the seminars after internship revealed the most obstacle problems regarding the appropriateness of the schedule.
Keywords: Internship in School, Obstacle Problems

Article Details

How to Cite
Sopheng, W. (2023). A การศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 13–20. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/2443 (Original work published 29 ธันวาคม 2023)
บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี)

พ.ศ. 2562 https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/056/T_0012.PDF

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี).

https://www.ubu.ac.th/web/files_up/46f2014123011152580.pdf

กฤษณา ชินสิญจน์(2553). ผลของกระบวนการจัดการสังเกตและฝึกปฏิบัติงานครูต่อการนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารการวัดประเมินผลสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 45-55.

https://doi.org/10.14456/jsmesr.2022.5

เทอดทูน ค้าขาย และคณะ (2562). การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะศึกษา

ศาสตร์มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. วารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 33-46.

สมทรง สุวพานิช. (2556). การศึกษาการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สโรชา คล้ายพันธุ์. (2557). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา

วิทยาเขตชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 63-76.

อรรณพ แสงแจ่ม. (2548). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูภายหลังการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542ของนิสิตฝึกสอน

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Burton, Michel Alan. (1970). The Effective of Cooperating Teacher teaching Style on Student Teacher teaching Style. Dissertation

Abstracts International.

Calvert, Gaston Evon. (1970). The Role of the Cooperating teacher as Perceived by Student Teacher, Cooperating Teachers, and College

Supervisors in selected Teacher Training Institution of Alabama. Dissertation Abstracts International.