Creative Leadership Of School Administrators Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office2 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 สุรีย์พร ไกรสิน, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

Main Article Content

สุรีย์พร ไกรสิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 232 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ และวิธีการสุ่มแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น โดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNI Modified) ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีความยืดหยุ่นและการปรับตัว ด้านทำงานเป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ความต้องการจำเป็น


This research aimed (1) to examine the current and desirable situations on creative leadership of school administrators, and (2) to assess the needs for creative leadership of school administrators. The samples were 232 school administrators and teachers in schools under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2 followed percent criterion in the sample sized specification, and they were selected by Stratified Random Sampling. The instruments used were 2 aspects of questionnaires: 1) a questionnaire on the current situation for creative leadership of school administrators, and (2) a questionnaire on the desirable situations for creative leadership of school administrators. The statistics employed in data analysis were percentage, mean, standard deviation and the Modified Priority Needs Index (PNImodified). The results revealed that (1) the overall current situations for creative leadership of school administrators were at the high level, and the overall desirable situations for creative leadership of school administrators were at the highest level. (2) The needs for creative leadership of school administrators in overall and in individual aspects overall and in each aspect sorted from highest to lowest average, namely creativity, flexibility and adaptability, teamwork, vision, and individualized consideration.


Keywords: Leadership, Creative Leadership, Needs

Article Details

How to Cite
ไกรสิน ส. (2023). Creative Leadership Of School Administrators Under Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office2 ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2: สุรีย์พร ไกรสิน, สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 38–48. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/2503 (Original work published 29 ธันวาคม 2023)
บท
research article
Share |

References

เกรียงไกร นามทองใบ. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ศรีสะเกษ เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จุฑามาส ซุ่นห้วน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาฃตามความคิดเห็นของครู สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.[วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ฐานะมาศ หาดยาว. (2564). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้อำนวยการสถานศึกษา สีงกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ

ศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์. [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทวีสันต์ วิชัยวงษ์. (2562). ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กร. วารสารแสงอีสาน, 16(2), 667-680.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปิลันธน์ วีระภัทรกุล. (2561). รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชการ รมยสาร, 16(1),

-150.

พักตร์นภา หาญประชุม. (2565 ). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

นครราชสีมาเขต 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชรา วาณิชวศิล. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำ จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. ปัญญาชน.

พุทธชาติ ภูจอมจิต. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย

การจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(1), 109-117.

ยงยุทธ ไชยชนะ และลักขณา สริวัฒน์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ

ศึกษามัธยมศึกษาเขต29. วารสารมหาวิทยาลัยร้อยเอ็ด, 14(2), 165-175.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). ทิพยวิสุทธิ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). แนวคิดและหลักการนักวิจัยวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณปีพ.ศ. 2566

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. [เอกสารไม่มีการตีพิมพ์]. กลุ่มนโยบายและแผน. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

Ash, R, and Persall, M. (2007). The principal as chief learning officer, the new work of formative leadership. Birmingham: Stamford

University Birmingham.

Harris, (A.). (2009). Creative leadership. Journal of Mangement in Education. 23(1),9-11. https://shorturl.asia/oOux4

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York: McGraw-Hill