การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R

Main Article Content

Areerat Jai-aree

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทองเอนวิทยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีหน่วยในการสุ่ม คือ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R, แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนสอบหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
Jai-aree, A. (2024). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับเทคนิค SQ10R. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 51–64. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/2995
บท
research article
Share |

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

________. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชฎาพร ทับบุญ .(2564). การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การ

จัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดหมวกหกใบ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เทวราช มังคะละ. (2565). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับ

การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

(การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระพล พงษ์พิมาย. (2563). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด “ดอกไม้บานที่บ้านบาละ” เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเชิง

วิเคราะห์โดยใช้เทคนิค SQ10R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นิภาวรรณ ราตรี. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการ

จัดการเรียนรู้ด้วยบทบาทการโค้ช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนทองเอนวิทยา. (2566). รายงานประจำปีของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนทองเอนวิทยา สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. สิงห์บุรี: โรงเรียนทองเอนวิทยา.

พงษ์สิทธิ์ สิงห์อินทร์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะ

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิพัฒนพงษ์ ดำมาก. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุปราณี บัวล้อมใบ. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 14(1), 57 - 77.

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิด

สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสาน

มิตร.

อนุเบศ ทัศนิยม. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาวิทยาศาสตร์

ชีวภาพด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

Shaughnessy, M.F. (1996). “SQ10R”. Research and Teaching in Developmental Education. 13(1), 97 - 99