การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

chanisara kaewduangdee

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนปลาปากราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 จำนวน 33 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม มีหน่วยในการสุ่ม คือ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus จำนวน 10 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวไม่เป็นอิสระต่อกัน


              ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปลาปากราษฎร์บำรุง หลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปลาปากราษฎร์บำรุง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบฝึกทักษะร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ KWL Plus เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ (𝑥̅ = 22.64) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D. = 3.05) และคิดเป็นร้อยละ 75.45

Article Details

บท
research article
Share |

References

กมลรัตน์ ภวภูตานนท์. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการอ่านจับใจความและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกตุจันทร์ ไพศาลธรรม. (2556). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค KWL Plus

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐนัย ไตรยงค์. (2566). การพัฒนาชุดแบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้วรรณคดีไทยในบทเรียนของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอากาศอำนวยศึกษา จังหวัดสกลนคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 4(2),

- 31.

ทองจันทร์ เทพดู่. (2556). การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตาดภูวง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปานระวี ยงยุทธวิชัย. (2552). คู่มือการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อขอเลื่อนตำแหน่งอาจารย์ 3.

กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนและการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย.

รินทร์ลภัส เฉลิมธรรมวงษ์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus. (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.

ศริญดา เทียมหมอก. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึก

การอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศันสนีย์ อินทขีณี. (2558). การใช้เทคนิค เค ดับเบิลยู แอล พลัส เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสาวภา ช่วยแก้ว. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึก

การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWLH Plus. (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.