คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

Tanyong Baenlee

บทคัดย่อ

             สภาพการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปของโลกในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่าที่แท้จริง การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 34 คน และครู 189 คน จำนวน 232 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 1 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.65-0.88 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test แบบ Independent Samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


      ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม โดยรวมและรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม จำแนกตามสถานภาพและขนาดสถานศึกษา พบว่า ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
Baenlee, T. (2024). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครพนม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 36–46. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3283
บท
research article
Share |

References

กิตติพิชญ์ มั่งสุข. (2563). คุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดระยอง. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และสุกัญญา พยุงสิน. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์

สำหรับลูกค้าบุคคลทั่วไปผ่านอินเทอร์เน็ตในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพา

ปริทัศน์, 13(2), 80-91.

จิตรลดา ประดิษฐ์ศิริงาม และ รัตนา กาญจนพันธุ์. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์เขต 2 . วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

มหามกุฏราชวิทยาลัย, 9(1), 58-70.

เจริญ ภูวิจิตร์. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในอาเซียน. กรุงเทพฯ: ไอเอ็ดพับเลสซิ่ง.

ชาญชาติ ถนอมตน. (2560). Thailand 4.0 สำเร็จได้ด้วย Education 4.0 ผ่านสถานศึกษาที่เป็นองค์การแห่งการ

เรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567 จาก https://www.gotoknow.org/posts/628643.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.

ถวิล มาตรเลี่ยม. (2562). การปฏิรูปการศึกษา: โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: เสนาธรรม.

ถวิล อรัญเวศ. (2560). ผู้บริหารกับการครองตน ครองคน และครองงาน สุดยอดนักบริหาร. นครราชสีมา:

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง)

เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ธีรยุทธ รอสูงเนิน. (2557). พฤติกรรมการอ่านหนังสือและแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านหนังสือของผู้เรียนระดับ

อาชีวศึกษาและเทคนิคศึกษาประเภทวิชาพาณิชยกรรมในสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

รักเกียรติ หงส์ทอง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ในบริบทการนำการเปลี่ยนแปลง. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(2),

-87.

ลลิดา กุลสุวรรณ เสาวณีย์สิกขาบัณฑิต และปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2566 ). รูปแบบภาวะผู้นํายุคใหม่สําหรับผู้บริหาร

สถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ,

(5), 687-716.

วิริยะ โกษิต. (2560). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนวัดป่าประดู่

จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต:

มหาวิทยาลัยบูรพา]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ศรายุทธ เมืองคำ. (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 ที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง.

[วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร.(2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหารมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย

บูรพา, 8(2), 1-15.

สมชาย เทพแสง. (2552). ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ รูปแบบใหม่ของผู้บริหารโรงเรียนในทศวรรษหน้า. วารสารบริหารศึกษา มศว.

(11), 83-95.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารโรงเรียนยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2567 จาก

http://www.pracharathscool.go.th/skill/detail/52232.