สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม

Main Article Content

Kornkanok Saensuk

บทคัดย่อ

      การพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษก่อให้เกิดความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนักเรียนอย่างจริงจัง ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้ปกครองนักเรียน และสถานศึกษา การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการ   มีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน  162 คน ปีการศึกษา 2566 ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and Morgan โดยการใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .54-.86 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อระหว่าง .80-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .64-.91 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


         ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษเรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ด้านการร่วมจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ด้านการร่วมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และด้านการร่วมวัด ประเมินและร่วมสรุปผล ตามลำดับ


         ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษเรียงลำดับค่าสูงที่สุดไปหาต่ำที่สุดได้แก่คือด้านการร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา ด้านการร่วมจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ด้านการร่วมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กพิเศษด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และด้านการร่วมวัด ประเมินและร่วมสรุปผล ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
Saensuk, K. (2024). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครพนม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 47–56. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/edunpuJ/article/view/3284
บท
research article
Share |

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจาก

สถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

กรมสุขภาพจิต. (2562). คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพยาบาล

ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์.

จินตนา ประดุจพงษ์เพ็ชร์ และสมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะ

การเลียนแบบของเด็กออทิสติก. วารสารครุพิบูล, 5(2), 187-201.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2561). คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1 – 2 ปี. Journal of

Nursing and Health Care, 35(4), 176–184.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่มของศูนย์

การศึกษาพิเศษ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สุทธานันท์ กัลกะ. (2561). การช่วยเหลือเด็กออทิสติก: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 24(3), 227-238.

สุภัสจิรา วงษ์มาดิษฐ์. (2559). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านไผ่

สีทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. [การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย

(ThaiLis).

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาริสรา ทองเหม และประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกที่

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(2), 21-36 .

Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and

Psychological Measurement.

Pahae, S. (2017). The Paradigm of Educational Technology in the Digital Age. Phare, Thailand:

PhareThaiUtsahakarnpim.