การใช้โปรแกรม GeoGebra ออกแบบลายผ้าทอมือจากลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการใช้โปรแกรม GeoGebra ออกแบบลายผ้าทอมือจากลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์คือ ใช้โปรแกรม GeoGebra สร้างลายผ้าทอมือจากสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และวิชาคณิตศาสตร์ และเพื่ออนุรักษ์ศิลปกรรมไทย เนื่องจากลายผ้าทอมือถือเป็นจิตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชาติไทย และผู้เขียนได้ศึกษาการใช้โปรแกรม GeoGebra และข้อมูลเกี่ยวกับลายผ้าทอมือ ได้แก่ ลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ โดยนำกราฟของสมการทางคณิตศาสตร์จากการใช้โปรแกรม GeoGebra มาสร้างลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ และอธิบายส่วนประกอบของลายตะไลล้านและลายมาลัยไม้ไผ่ เปรียบเทียบกับสมการทางคณิตศาสตร์ จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ผู้เขียนทราบว่าโปรแกรม GeoGebra สามารถสร้างลายผ้าทอมือที่มีความสวยงามได้จากกราฟของสมการทางคณิตศาสตร์ในโปรแกรม GeoGebra และยังสามารถนำลายผ้าทอมือที่สร้างจากสมการทางคณิตศาสตร์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ซึ่งสามารถอภิปรายผลการศึกษาครั้งนี้ได้ว่า ในการใช้โปรแกรม GeoGebra สร้างกราฟของสมการคณิตศาสตร์ของลายผ้าทอมือยังมีลายที่สามารถสร้างได้อีกมากมาย ซึ่งรายละเอียดของลายผ้าทอมือมากเท่าไหร่การสร้างกราฟของสมการทางคณิตศาสตร์ในโปรแกรม GeoGebra ก็ยิ่งซับซ้อนและใช้เวลานานขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ณรงค์ฤทธิ์ มะสุกใส, เจษฎา สิงห์ทอง, ทรงกรด พิมพิศาล, ประพนธ์ เนียนสา, อัจฉรา สุมังเกษตร, ธรรมนูญ ปัญญาทิพย์,
ณัฐวุฒิ ศร๊วิบูลย์ และ อารยา ลาน้ำเที่ยง. (2561). การออกแบบลายผ้าทอมือ สำหรับแฟชั่นร่วมสมัยจากภูมิ
ปัญญา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกุดหว้า ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. รายงานวิจัย การจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนา
พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์, 1-109.
ณรงค์ฤทธิ์ มะสุใส, เจษฎา สิงห์ทอง, ทรงกรด พิมพิศาล, ประพนธ์ เนียนสา, อัจฉรา สุมังเกษตร, ธรรมนูญ ปัญญาทิพย์,
ณัฐวุฒิ ศรีวิบูลย์, ไพฑูรย์ ทิพย์สันเทียะ, และ อารยา ลาน้ำเที่ยง. (2565). การออกแบบลายผ้าทอมือด้วย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับสร้างสรรค์แฟชั่นร่วมสมัย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์.
วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 14(2), 148-158.
วุฒิชัย ภูดี. (2563). การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัล: วิธีการและเครื่องมือ. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา
(JSSE), 3(2), 190-199.
อติกานต์ สุทธิวงษ์, และ ศุภรัก สุวรรณวัจน์. (2559). การออกแบบลายพิมพ์ผ้าตีนจกสำหรับสร้างสรรค์แฟชั่นร่วมสมัยจาก
ภูมิปัญญาไทยพวน จังหวัดสุโขทัย Design of Teenjok Printing for Creating Contemporary Fashion from
Thai Phun Wisdom, Sukhothai. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 146-153.