ผลของภูมิทัศน์บริการและคุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ องสุพันธ์กุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐพล พันธุ์ภักดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภูมิทัศน์บริการ, คุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้ , คุณภาพชีวิต, บ้านพักคนชรา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้ของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาผลของภูมิทัศน์บริการและคุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี และ 3) ศึกษาผลของคุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยตามแนวทางการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความคาดหวังต่อคุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้มีค่าสูงกว่าระดับการรับรู้คุณภาพการบริการจับต้องไม่ได้ โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเท่ากับ -0.06 2) ปัจจัยด้านภูมิทัศน์บริการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ บรรยากาศในสถานบริการ การจัดพื้นที่การให้บริการ การใช้งานป้ายสัญลักษณ์และสิ่งของประดับต่าง ๆ และ 3) ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีผลต่อต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความเชื่อถือไว้วางใจ การตอบสนอง และความเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ

References

ณัชชนม์ เจริญษา. (2565). แผนธุรกิจ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ "ต้นส้มเนอร์สซิ่งโฮม" [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฎฐกันย์ อ๋องเอื้อ. (2564). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี [การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปัทมา ผ่องศิริ. (2561). คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-149.

พศิน ชื่นชูจิตต์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบ้านพักคนชรา ในยุค New normal [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ระพีพัฒน์ ช้อนสวัสดิ์. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพบริการพฤติกรรมการเลือกใช้สถานบริบาลผู้สูงอายุและการจัดการธุรกิจสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่: (Marketing Management) ฉบับปรับปรุงใหม่. Diamond In Business World.

ศุทธิดา ชวนวัน. (2563). "ขนาดประชากรที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย," Journal of Demography, 36(3), 15-25.

สุภาวดี จารียานุกูล (2564) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุของบริษัทบางกอกเฮลท์แคร์ เซอร์วิส จำกัด [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

สุริยาวุธ งอยภูธร (2562) อิทธิพลของคุณภาพการบริการต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าโพนค้อ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Bitner, M.J. (1992). Servicescapes: The impact of physical surroundings on customers and employees. Journal of Marketing, 56(2), 57-71.

Huang, Y. P., Basanta, H., Kuo, H. C., & Huang, A. (2018). Health symptom checking system for elderly people using fuzzy analytic hierarchy process. Applied system innovation, 1(2), 1-16.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (13th ed). Pearson Education Inc.

Nunnally, J. C. and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory (3rd ed). McGraw-Hill,

Parasuraman, A., Zeithamal, V. A. & Berry, L. L. (1993). “More on Improving Service Quality Measurement”. Journal of Retailing, 61(4),141- 147.

WHOQOL Group. (1998). The World Health Organization Quality of Life Assessment (WHOQOL): Development and general psychometric properties. Social Science & Medicine, 46(12), 1569–1585.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-27

How to Cite

องสุพันธ์กุล พ. ., & พันธุ์ภักดี ณ. . (2025). ผลของภูมิทัศน์บริการและคุณภาพการบริการที่จับต้องไม่ได้ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ใช้บริการบ้านพักคนชรา ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 9(1), 120–141. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/4430