ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
สังคมไร้เงินสด, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, จังหวัดตรังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง และเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสด ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง จำนวน 390 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าที และสถิติทดสอบหาความแตกต่างค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติในภาพรวมเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังอยู่ในระดับมาก โดยที่ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดด้านความสอดคล้องมีค่าสูงที่สุด รองลงมา คือ ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดด้านประโยชน์ใช้สอยและด้านความง่ายในการใช้ ทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดด้านความน่าเชื่อถือ และทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดด้านค่าใช้จ่ายตามลำดับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดตรังที่มีอายุ ผลการเรียนเฉลี่ย และเงินที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติเกี่ยวกับสังคมไร้เงินสดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศน์ทยา ธรรมวนิช. (2561). ทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของสังคมไร้เงินสดของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช [สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มัทยา ศรีพนา. (2562). สถานการณ์สังคมไร้เงินสดของประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีกัญญา ยาทิพย์. (2559). ชีวิตยุคใหม่ ไม่ต้องพกเงินสด. วารสารกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กรกฎาคม, 10-16.
สมชาย เลิศวิเศษธีรกุล, บดินทร์ รัศมีเทศ, และกมลพรรณ แสงมหาชัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 285-294). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุริพงษ์ ตันติยานนท์. (2562). วีซ่าเผยผลสำรวจเกือบ 9 ใน 10 ของผู้บริโภคชาวไทยทำธุรกรรมการเงินในรูปแบบดิจิทัล. https://www.engineeringtoday. net/%e0%b8%a7%e0%b
อรรณพ ดวงมณี และต่อตระกูล อุบลวัตร. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่และทัศนคติที่มีต่อการเข้าสู่สังคมไร้เงินสดของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. นิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 150-162.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 19(3), 297-334.
Davis, F. D. (1989). Percieved Usefulness, Percieved ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.
Hair et al. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed). Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.