การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • มาลัย พลายจิตต์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิชชุกร นาคธน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธิติวุฒิ หมั่นมี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การปฏิบัติงาน, หลักพุทธธรรม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมกับศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 343 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้อำนวยการและผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประธานกลุ่ม อสม. ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาชนหรือผู้รับบริการ และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาหรือพระสงฆ์ รวมจำนวน 10 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า มีศักยภาพการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า มีการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมกับศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง 0.875 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพ การปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า 3.1) ด้านฉันทะ (มีใจรักในหน้าที่) คือ ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ อสม. ทุกคน เพื่อสร้างความเข้าใจและรับรู้ในบทบาทหน้าที่การทำงานของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ 3.2) ด้านวิริยะ (มีความพยายามทำหน้าที่) คือ ควรมีการวางแผนเวลา จัดสรรบุคลากรให้สอดคล้องกับภาระงาน จัดสรรงบประมาณ และจัดสรรอุปกรณ์และเครื่องมือให้พร้อมและเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ 3.3) ด้านจิตตะ (มีใจฝักใฝ่รับรู้ในสิ่งที่ทำ) คือ ควรมีอบรมเพิ่มพูนความรู้โดยทีมแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ อสม. มีความรู้และนำไปถ่ายทอดให้ประชาชนได้อย่างถูกต้อง และ 3.4) ด้านวิมังสา (มีการพิจารณาใคร่ครวญภาระงานที่ได้รับ) คือ ควรมีทีมงานที่เข้มแข็ง มีการวางแผน การทำงาน ใช้สติ ความรอบคอบ มุ่งมั่นตั้งใจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อนำมาปรับปรุงและดำเนินงานให้สำเร็จตามแผนงานที่วางไว้

References

กนกภัส วงษ์ภากนกภณ. (2558). การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข. (2542). การสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2540-2541. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กุลชญา ลอยหา, เด่นดวงดี ศรีสุระ, มณฑิชา รักศิลป์, ชนฏ์พงศ์ เคลือศิริ, ภัทรภร เจริญบุตร, รมณียากร มูลสิน, สุชาดา นาสา และจำลอง วงศ์ประเสริฐ (2560). การเสริมสร้างศักยภาพบทบาทของนักจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(1), 1-13.

จุฬาพรณ์ โสตะ. (2554). แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชนิดา เตชะปัน, สิวลี รัตนปัญญา และสามารถ ใจเตี้ย. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 9(1), 17-24.

พระครูปลัดอนุวัติ ธมฺมวโร (ทำนา). (2558). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคลากรในเทศบาล ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาทองมี สุทฺธิจิตฺโต (สะพานหล้า). (2556). การปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงตามหลักอิทธิบาท 4 กรณีศึกษา การไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเอกพันธ์ ธีรภทฺโท (วิมานทอง). (2556). การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักอิทธิบาท 4 ของบุคลากรสำนักงาน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน. (2564, 15 พฤษภาคม). ข้อมูล อสม. แยกตามหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี. http://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/ administrator/ Report/ OSMRP000S9.php.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. (2564, 16 พฤษภาคม). สรุปจำนวนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำแนกหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. http://www.spo.moph.go.th

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิทยพัฒน์.

Peter, J. (2021, May 16). Thailand’s 1 million village health volunteers- “unsung heroes” - are helping guard communities nationwide from COVID-19 แปลโดย สุวิมล สงวนสัตย์.https://www.who.int/thailand/news/ feature-stories/detail/thailands-1-million-village-health-volunteers-unsung-heroes-are-helping-guard-communities-nationwide-from-covid-19-TH

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

พลายจิตต์ ม. . ., นาคธน ว. . ., & หมั่นมี ธ. . . (2022). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(1), 207–227. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1182