การศึกษาป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อรุโณทัย บุญชม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • จินต์จุฑา จินดานิรดุล มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ภาษาจีน, ชื่อร้านค้าภาษาจีน

บทคัดย่อ

การศึกษาป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตั้งชื่อภาษาจีนของร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนและศึกษาวัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยมของป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีน เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการสำรวจและการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายคือ ร้านค้าที่มีป้ายชื่อร้านภาษาจีนตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจและสัมภาษณ์เกี่ยวกับป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ 2) เครื่องมือรวบรวม บันทึกและสรุปข้อมูลในการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดศรีสะเกษมีป้ายชื่อร้านภาษาจีน มีจำนวน 63 แห่ง มีการใช้ป้ายชื่อร้านภาษาจีนที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ป้ายส่วนใหญ่มีคำอ่านของอักษรจีนที่เขียนออกมาในรูปแบบของภาษาไทยวางคู่กับอักษรจีน นิยมวางอักษรไทยไว้ด้านซ้ายและอักษรจีนไว้ด้านขวาตามแนวนอน การอ่านอักษรจีนจะอ่านจากอักษรด้านขวา-ซ้าย สำเนียงภาษาที่ใช้มากที่สุดในการอ่านป้ายชื่อร้านภาษาจีน คือ จีนแต้จิ๋ว ชื่อภาษาจีนส่วนใหญ่เป็นชื่อหรือแซ่ (นามสกุล) ของบรรพบุรุษ โดยแซ่ (นามสกุล) เดิมของร้านค้าที่พบได้มากกว่าแซ่อื่น คือ แซ่ตั้ง แซ่เตีย และแซ่โค้ว ประเภทของธุรกิจร้านค้าส่วนมาก คือ ร้านค้าประเภทขายของชำ ขายของเบ็ดเตล็ด วัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยมของป้ายชื่อร้านค้า พบว่า ความหมายโดยรวมของทั้งชื่อป้ายร้านค้าภาษาจีนและภาษาไทยส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกัน คือ ความเจริญรุ่งเรือง เฮง รวย ความอุดมสมบูรณ์ ความดี โชคดี โดยมีสีของแผ่นป้ายร้านค้าที่ป้ายเป็นสีแดง ตัวอักษรสีทอง เพื่อหนุนนำเพิ่มความเป็นสิริมงคลในอีกด้านหนึ่งตามความเชื่อของชาวจีนที่ว่า “สีแดง” เปรียบเสมือนจิตวิญญาณของชาวจีนและอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนมาเป็นเวลาช้านาน ส่วน “สีทอง” นั้น ชาวจีนนิยมใช้ เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นสีที่แสดงถึง ความมงคล มั่งคั่ง ร่ำรวยและเสริมบารมี

References

กรวรรณ พรหมแย้ม. (2565). การศึกษาภูมิทัศน์ทางภาษาศาสตร์ด้านภาษาจีน และกลวิธีการแปลชื่อธุรกิจร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์สาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 23(1), 36.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดศรีสะเกษ. กรมศิลปากร.

ชานนท์ เชาว์จิรพันธุ์ และนพธร ปัจจัยคุณธรรม. (2562). การศึกษากลวิธีการแปลชื่อร้านค้าภาษาจีนเป็นภาษาไทย ในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(2), 54-65.

นควัฒน์ สาเระ. (2550). การตั้งชื่อร้านค้าในจังหวัดปัตตานี : ความสัมพันธ์ระหว่างชื่อร้านค้ากับวิถีชีวิตในชุมชน [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจอาภา พิเศษสกุลวงศ์. (2564). ความหมายที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลบนแผ่นป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีน ในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(25), 61-72.

ประดิษฐ์ ศิลาบุตร. (2551). ชนเผ่าเยอศรีสะเกษ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2556). ประวัติศาสตร์ผู้คน บนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร. มติชน.

ภคินี แสงสว่าง. (2545). การศึกษาชื่อร้านค้าธุรกิจของคนไทยเชื้อสายจีนตามแนวภาษาศาสตร์ : กรณีศึกษาเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้า ภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 61-89.

วราลี รุ่งบานจิต และคณะ. (2562). การสำรวจและศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา [สนับสนุนทุนวิจัยโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2555). ชื่อร้านค้าภาษาจีนในประเทศไทย : แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้าและบทบาททางสังคม[สนับสนุนทุนวิจัยโดย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2561). การศึกษาชื่อร้านทองคำภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานคร. วารสารภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม, 7(2), 202-230.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2563). ภาษาบนป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตชุมชนเยาวราช : กรณีศึกษาชื่อร้านค้าภาษาจีนและภาษาไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์สาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 21(1), 55-68.

สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของชื่อร้านค้าที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับ สิริมงคลของคนไทยและคนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 45-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

บุญชม อ., & จินดานิรดุล จ. . (2023). การศึกษาป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 7(2), 162–188. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/2005