การสร้างสรรค์ประติมากรรมนูนสูงแรงบันดาลใจจากศิลปะขอมและดอกลำดวนจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พินิจ มาลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ประทักษ์ คูณทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ประติมากรรมนูนสูง, ศิลปะขอม, ดอกลำดวน

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลวดลายทับหลังปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ 2)เพื่อสร้างสรรค์ประติมากรรมนูนสูงจากศิลปะขอม และดอกลำดวนจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลงานประติมากรรมนูนสูงจากศิลปะขอม และดอกลำดวนจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีขอบเขตเนื้อหาเกี่ยวกับความงามและความอุดมสมบูรณ์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับลวดลาย แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยการเก็บข้อมูลจากการลงสนาม เอกสาร ภาพถ่าย นำมาวิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ภาพร่างต้นแบบ และปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานจริงที่เสร็จสมบูรณ์ ผลงานวิจัยพบว่า แนวทางการสร้างสรรค์ประติมากรรมนูนสูงจากศิลปะขอม และดอกลำดวน มีดังนี้ 1) แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) การรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมนูนสูง 4) สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแบบร่างโดยการจัดองค์ประกอบให้เกิดเอกภาพ 5) ปฏิบัติการตามขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งประกอบด้วย ภาพร่างต้นแบบ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การปั้นต้นแบบ การเตรียมพิมพ์เพื่อการหล่อ การหล่อพิมพ์ และการเก็บรายละเอียดจนเสร็จสมบูรณ์และได้ประติมากรรมจากแรงบันดาลใจศิลปะขอมและดอกลำดวน ผลการวิเคราะห์ผลงานด้านเนื้อหาสื่อถึงความงามความอุดมสมบูรณ์ ที่มีรูปแบบผลงานเป็นประติมากรรมนูนสูงมีรูปร่างรูปทรงที่มีองค์ประกอบทางศิลปะมีความงามที่แสดงถึงความเป็นอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นแนวทางในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับผลงานในด้านศิลปกรรมเชิงพาณิชย์ได้ในโอกาสต่อไป

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 7). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง.

ชำนาญ เล็กบรรจง และคณะ. (2554). ศิลปะวิจักษ์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2528). ศิลปะน่ารู้ในสองศตวรรษ. นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

สุชาติ เถาทอง. (2532). ศิลปะกับมนุษย์. โอเดียนสโตร์.

สุธิดา มาอ่อน. (2558). การสร้างสรรค์งานประติมากรรมความอุดมสมบูรณ์แห่งผืนแผ่นดินไทย. วารสารศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 6(1), 39-61.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30

How to Cite

มาลา พ., & คูณทอง ป. . (2024). การสร้างสรรค์ประติมากรรมนูนสูงแรงบันดาลใจจากศิลปะขอมและดอกลำดวนจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 8(2), 84–102. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/3790