การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ในเด็กก่อนวัยเรียนด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาติพันธุ์ไทย-เขมร

ผู้แต่ง

  • ดรรชนี มะลิงาม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, การเลี้ยงดูเด็ก, ชาติพันธุ์ไทย-เขมร, พัฒนาการด้านอารมณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพิธีกรรมและวิธีการเลี้ยงดูเด็ก ตามแบบแผนดั้งเดิมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมรกลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า การเลี้ยงดูเด็กที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ อารมณ์ ในเด็กก่อนวัยเรียนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมรในด้านความเชื่อ ข้อห้าม พิธีกรรมและประเพณียังคงมีการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน เด็กที่เกิดมามีครูคุ้มครอง ต้องแต่งจวมให้ เพื่อบูชาครูอายุ 1 เดือนจัดพิธีโกนผมไฟ เด็กชายให้บวชเป็นสามเณรเรียนรู้พระพุทธศาสนา มาตรฐานศีลธรรม เป็นต้น ด้านอาหารและการให้นมให้ลูกกินนมแม่รับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นส่งเสริมพัฒนาการ และความมั่นคงทางอารมณ์ ด้านสาเหตุการเจ็บป่วยและการป้องกันการเจ็บป่วยพาลูกใกล้ชิดศาสนา เพื่อขัดเกลาจิตใจ หรือมีสิ่งยึดเหนี่ยว เช่น วัตถุมงคลเครื่องรางต่าง ๆ เป็นต้น ด้านการดูแลขณะเด็กเจ็บป่วย ใช้สมุนไพรการเสี่ยงทายเพื่อหาสาเหตุ การเจ็บป่วย ให้พระรดน้ำมนต์และในด้านการเล่นของเด็ก แม่จะร้องเพลงกล่อมให้ ลูกนอน ให้ลูกเล่นอย่างอิสระตามธรรมชาติในชุมชน ชมเชย และกำลังใจ ในการเล่น ทำให้เด็กมีความสุขมีความมั่นใจและมีความมั่นคงทางอารมณ์เมื่อเติบโตขึ้น จากผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำไปสู่การบูรณาการเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์เด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมรที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาแม่ที่ใช้ในการสื่อสารประจำวัน

References

กัลยา ทองธีรกุล. (2559). การส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการทารกแรกเกิดด้วยแนวคิดจิตประภัสสร. ขอนแก่น: ศูนย์อนามัยที่ 7.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2549). พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : โครงการจัดทำหนังสือเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ.

คณะกรรมการศาสนาเพื่อการพัฒนาสุรินทร์. (2553). รวมประเพณีและพิธีกรรมท้องถิ่นในจังหวัดสุรินทร์. ม.ป.พ.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจ. เอส. การพิมพ์.

ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์. (2559). คู่มือการเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ สำหรับเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี ด้วย กิน กอด เล่น เล่า. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

ณัฐกร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : วี.พริ้น (1991).

นิตยา ศรีมกุฎพันธุ์ และคณะ. (2555). การละเล่นพื้นบ้านเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ไทย – เขมร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สุรินทร์: สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค(การศึกษาและการจัดการภูมิปัญญา)มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ประกอบ ผลงาม. (2538). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

เปิดสถานการณ์เด็กปฐมวัย.(2557กรกฎาคม). สืบค้นจากhttp://www.banmuang.co.th/

พิทยาภรณ์ สิงหกานตพงศ์ และณัฐวร ดามณีรัตน์. (2555). ทฤษฎีพัฒนาการเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอน. อัดสำเนา.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2553). กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติปี2554–2558. (พิมพ์ครั้งที่1). นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย. (2544). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ : โครงการจัดทำหนังสือเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(2559มีนาคม). สืบค้นจากhttp://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=173

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

มะลิงาม ด. . . (2022). การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ในเด็กก่อนวัยเรียนด้วย ภูมิปัญญาท้องถิ่นชาติพันธุ์ไทย-เขมร. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(1), 124–149. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1076