สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกรณีศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 8 ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2537 - 2563

ผู้แต่ง

  • ธันยพงศ์ สารรัตน์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่, การเสด็จพระราชดำเนิน, โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายถึงการเสด็จพระราชดำเนินโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 8 ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2537 – 2563 โดยเน้นการศึกษาถึงบริบทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ก่อนการเสด็จพระราชดำเนิน ความเป็นมาของการเสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนฯ และผลของการพัฒนาโรงเรียนฯ ภายหลังการ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พ.ศ. 2537 – 2563 ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงเรียนตำจรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีสภาพที่ยังไม่มีความเจริญทางกายภาพมากนัก โดยเฉพาะเรื่องการคมนาคม 2) ความเป็นมาของการเสด็จฯ ภายหลัง พ.ศ.2537 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน พ.ศ.2563 รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสด็จฯ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ 3) ผลจากการเสด็จฯ ที่สืบเนื่องจาก ความเป็นมาของการเสด็จที่ส่งผลต่อโครงการพัฒนาด้านสุขภาวะอนามัย การศึกษา อาชีพ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้สอดรับกับบริบทของท้องถิ่นบ้านหนองโปร่งใหญ่ที่มีอยู่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น การเสด็จฯ ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางกายภาพของท้องถิ่น และช่วยสืบสานโครงการพัฒนาชนบทของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 9 ที่ก่อให้เกิดความรับรู้อย่างกว้างขวางที่มีต่อบทบาทด้านการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

References

กฤตวิชญ์ ปิ่มไพบูลย์. (2557). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่าง พ.ศ.2521 – 2532. วิทยานิพนธ์ อ.ม.(ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2545). สดุดี 100 ปี สมเด็จย่า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. (2559). 60 ปี โรงเรียน ตชด. กรุงเทพฯ: กองฯ.

คริส เบเกอร์ และคณะ. (2556). กลางใจราษฎร์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม.

ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. (2547). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ตามรอยพระราชดำริ : น้อมนำโครงการพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในจังหวัดศรีสะเกษถ่ายทอดสู่ท้องถิ่น. (2558). อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

เทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2559). บทความพระราชนิพนธ์ เรื่องโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. ใน 40 ปี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน.

เทพรัตนวิศิษฏศิลป์. (2548). กรุงเทพฯ: กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์.

ธันยพงศ์ สารรัตน์. (2563). โครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับการพยายามแก้ปัญหาสังคมชนบทจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง พ.ศ.2541 – 2554. วารสารวิชาการศิลปวัฒนธรรมอีสาน. 1(1), 1-22.

ประมวลพระราชกรณียกิจสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เล่ม 3 ปี 2535 - 2540. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

ประยุทธ์ สิทธิพันธ์. (2540). กระแสพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงไทยการพิมพ์.

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ. (2548). ศรีสะเกษ: สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษและภาคีเครือข่าย.

ปราการ กลิ่นฟุ้ง. (2551). การเสด็จพระราชดำเนินท้องที่ต่างจังหวัดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ. 2493-2530. วิทยานิพนธ์ อ.ม.(ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ถ่ายเอกสาร.

พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อพสกนิกรชาวจังหวัดศรีสะเกษ. (2554). อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างเดือนตุลาคม 2548 - ธันวาคม 2548. (2548). กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ.

พิชาภพ พันธุ์แพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภราดร ศรปัญญา และคณะ. (2558). ศรีสะเกษจังหวัดของเราเล่ม 2 : ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ การคมนาคม และสิ่งแวดล้อม. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

รัตนมณีศรีศิลปศาสตร์. (2553). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่. (2563). มปท.: มปพ..

เลียง ไชยกาล. (2547). ปาฐกถาเรื่องสภาพจังหวัดอุบลราชธานี. ใน ปาฐกถาของผู้แทนราษฎรเรื่องสภาพของจังหวัดต่างๆ. กรุงเทพฯ: โครงการมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย.

วงเดือน นาราสัจจ์. (2562). ภูมิพลังแผ่นดินรุ่นที่ 5 : เรียนรู้ประวัติศาสตร์ บูรพมหากษัตริย์ไทยในอดีต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุมาลี บำรุงสุข สุกัญญา บำรุงสุข และศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล. (2541). พระมามลายโศกหล้าเหลือสุข : พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.

สำนักพระราชวัง. (2545). เสด็จฯเยือนอีสานใต้. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ปจำกัด.

สำนักเลขานุการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สน.กปร.). (2547). รายงานผลการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (เฉพาะโครงการที่อยู่ในขอบข่ายการประสานงานของ กปร.). มปท.: มปพ..

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ อุบลราชธานี (หจช.อบ.). เอกสารกระทรวงมหาดไทย. มท 0201.2.1.31/18. เสด็จฯ โรงเรียน ตชด. ศรีสะเกษ (พ.ศ.2558).

หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ อุบลราชธานี (หจช.อบ.). เอกสารกระทรวงมหาดไทย. มท 0201.21.31.4/1. เสด็จโรงเรียนบ้านหนองใหญ่

ศรีสะเกษ (พ.ศ.2548).

อมรา พงศาพิชญ์. (2559). โครงการหลวง : รอยต่อระหว่างรัฐกับภาคประชาสังคม.วารสารวิจัยสังคม. 39(2), 1-34.

นิเชต ฤกษ์สิทธ์, ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ, สัมภาษณ์, 15 กันยายน 2563 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

ประกอบ เหล่าเทียม, อดีตครูโรงเรียนฯ, สัมภาษณ์, 15 กันยายน 2563 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

ปราศรัย มัทวาธิ, ครูโรงเรียนฯ, สัมภาษณ์, 16 กันยายน 2563 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

วิทยา คำดี, ครูโรงเรียนฯ, สัมภาษณ์, 16 กันยายน 2563 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

สารรัตน์ ธ. (2022). สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับการพัฒนาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกรณีศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 8 ตำบลรุง อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2537 - 2563. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(2), 15–49. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1078