การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณน้ำสบระหว่างแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อัญญา บูชายันต์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ภูมิ สาทสินธุ์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การใช้ประโยชน์ที่ดิน, น้ำสบ, แม่น้ำมูล, แม่น้ำชี, สุรินทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณน้ำสบของแม่น้ำชีกับแม่น้ำมูล ในเขตอำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ข้อมูล ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมในโปรแกรม Google Earth ปี พ.ศ. 2562 ข้อมูลการสำรวจภาคสนาม และข้อมูลจากระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแปลตีความข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมด้วยสายตา นำเสนอผลในรูปแบบแผนที่ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่พบมากที่สุด คือ พื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ 84.54 ตร.กม. (ร้อยละ 62.98) รองลงมาคือ พื้นที่ป่า 33.05 ตร.กม. (ร้อยละ 24.62) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 10.99 ตร.กม. (ร้อยละ 8.18) พื้นที่แหล่งน้ำ 4.22 ตร.กม. (ร้อยละ 3.14) และพื้นที่เบ็ดเตล็ด 1.42 ตร.กม. (ร้อยละ 1.06) ตามลำดับ

References

กองบริหารจัดการที่ดิน. (2552). การจำแนกและกำหนดมาตรการการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน. สืบค้น 29 ตุลาคม 2562, จาก http://www.onep.go.th/land/93-

โครงการศึกษาวิจัย/801-2552.

เกรียงไกร บุญเติม และคณะ. (2544). “การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกําหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกยูคาลิปตัส จังหวัดนครพนม.”

การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 5-7 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 150-154.

ไทยรัฐออนไลน์. (2562). "แล้งหนักสุดรอบ 30 ปี ต้นเหตุ "เอลนีโญ" มาเร็วกว่าทุกปี." [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/news/local/1510136

สืบค้น 29 ตุลาคม 2562.

บุญสม สังข์สาย. (2548). การใช้ภาพถ่ายทางอากาศศึกษาการใช้ที่ดินบริเวณน้ำสบของลำชีกับแม่น้ำมูล อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พจนานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2549. (2549). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560).ข้อมูลตัวชี้วัด “การใช้ประโยชน์ที่ดิน”. สืบค้น 26 ธันวาคม 2562 จาก

http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_8/.

อรรครัฐ ขุนวิทยา. (2545). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินต่อการระเหยและสมดุลของน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

บูชายันต์ อ. ., & สาทสินธุ์ ภ. . (2022). การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณน้ำสบระหว่างแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(2), 69–84. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1080