การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา นาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5

ผู้แต่ง

  • อรุณ แสงคำกุล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี
  • สุรางคนา มันยานนท์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, ระดับการปฏิบัติ, กฎกระทรวงการประกันคุณภาพ 6 ด้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษานาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ตามระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษานาจะหลวย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 92 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นทำการเทียบสัดส่วนและสุ่มอย่างง่าย โดยศึกษาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2. การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3. การดำเนินการตามแผน 4. การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพ 5. การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนา 6. การจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท จำนวน 45 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ ระดับการปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษานาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ 6 คือด้านการจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านที่ 1-5 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนา ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการดำเนินการตามแผน ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพ

References

กรมณี ปาลี. (2556). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันที่

ตุลาคม 2559

เฉลิมศักดิ์ สุภาผล, สกุลรัตน์ กมุทมาศ และ สำเริง นาครินทร์. (2550). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

ทนงศักดิ์ โรจน์บูรณาวงศ์. (2550). ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา, หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

นิพนธ์ พจชนะ. (2552). การศึกษาความพึงพอใจของข้าราชการครูที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายนาจะหลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชธานี

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วันทนา เนื้อน้อย. (2560). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายใสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

สุขใจ ดวงประเสริฐ. (2550). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

แสงคำกุล อ. . ., สมพงษ์ธรรม เ. . ., & มันยานนท์ ส. . . (2022). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษา นาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 4(2), 107–125. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1082