แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดเพื่อลดหนี้ NPLs สินเชื่อธุรกิจของธนาคารออมสิน
คำสำคัญ:
ธนาคารออมสิน, หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในสินเชื่อธุรกิจของธนาคารออมสิน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ลูกค้าให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คือ ปัจจัยที่เกิดจากลูกหนี้ ได้แก่ รายได้ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ และสภาพคล่องของธุรกิจ อันดับสอง คือ ปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ จำนวนคู่แข่งทางการค้า ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค และราคาน้ำมัน อันดับสาม คือ ปัจจัยที่เกิดจากธนาคาร ได้แก่ จำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละงวด ระยะการผ่อนชำระ และวงเงินอนุมัติ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการชำระคืนหนี้เงินกู้สินเชื่อธุรกิจของผู้ประกอบการมีทั้งปัจจัยที่เกิดจากลูกหนี้ ธนาคาร และสภาพแวดล้อม โดยปัญหาที่สำคัญของผู้ประกอบการ ได้แก่ ขาดทุนจากการประกอบการ สภาพเศรษฐกิจไม่ดี ค่าใช้จ่ายในครอบครัวและธุรกิจสูงขึ้น จำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดสูงเกินไป และใช้เงินกู้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการกู้ ดังนั้น ธนาคารควรให้ความสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อทั้ง 3 ปัจจัยโดยเฉพาะปัจจัยที่เกิดจากลูกหนี้ ได้แก่ ข้อมูลทางการเงินทั้งในด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย ภาระหนี้ และสภาพคล่องของธุรกิจ เพื่อป้องกันและพัฒนาลูกหนี้เพื่อไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
ชนินทร์ พิทยาวิวิธ. (2533). สาเหตุของการที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนเงินกู้แก่ธนาคารธนาคารแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ.
ธอส. (2540). มูลเหตุของหนี้ค้างชำระ. ม.ป.พ.. กรุงเทพฯ.
พรรณสุภา ศรประสิทธิ์. (2543). การเจรจาต่อรองเพื่อการแก้ไขหนี้. ม.ป.พ.. กรุงเทพฯ.
สุพจน์ เลิศรัตนวณิช. (2546). การเรียกเก็บหนี้เป็นงานหนึ่งที่ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการสินเชื่อ. ม.ป.พ.. กรุงเทพฯ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.