AR Map for Retail Store in Mahasarakham University, Kham Riang Campus
คำสำคัญ:
แผนที่, แผนที่ความจริงเสริม, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ร้านค้าบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนที่ความจริงเสริมร้านค้าในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้แผนที่ความจริงเสริมร้านค้าในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ใช้แผนที่ความจริงเสริม จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้แผนที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) แผนที่ความจริงเสริมร้านค้าในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียงสามารถนำเสนอที่ตั้งร้านค้าและให้ข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า ประกอบด้วย ประเภทของร้านค้า ชื่อร้าน ลักษณะของสินค้าหรือบริการ เวลาในการเปิดให้บริการ สถานที่ และเส้นทางการเดินทาง ข้อมูลที่นำเสนอในรูปแบบตัวอักษร กราฟิกและรูปภาพ จำนวนทั้งสิ้น 45 ร้าน และ 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแผนที่ความจริงเสริมร้านค้าในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อแผนที่ความจริงเสริม เรื่อง ร้านค้าในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ขามเรียง โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (=4.06) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการออกแบบ (
=4.10) และด้านเนื้อหา (
=4.01)
References
งานบริการหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2559). หอพักมหาวิทยาลัยเขตขามเรียง. เข้าถึงได้จาก https://dorm.msu.ac.th/home1/หอพักมหาวิทยาลัย.
คมกฤช จิระบุตร. (2558). การสร้างสื่อแผนที่ท่องเที่ยวโดยการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality. เชียงราย: สาขาวิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธนิต เหลืองดี, และ สุกุมา อ่วมเจริญ. (2560). ระบบนำชมแบบความจริงเสริมเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 4. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ณกฤช รัตนวงศา, สุวรรณรัตน์ พุทธอุปถัมภ์ และเพียงฤทัย หนูสวัสดิ์. (2563).
แผนที่ท่องเที่ยวแบบความจริงเสมือน กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, วารสารสาระคาม, 11(1), 33-44.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
อพันตรี พูลพุทธา. (2553). ความพึงพอใจต่อตลาดน้อยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เข้าถึงได้จาก http://www.plan.msu.ac.th/system/research/
fileupload/fulltext_file/20100922r45qz05.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.