การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีนโดยการใช้บัตรคำ

ผู้แต่ง

  • สุภัชญา สวัสดิ์โยธิน

คำสำคัญ:

การเรียนภาษาจีน, บัตรคำ, สื่อการสอน, ความจำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีนโดยการใช้บัตรคำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้บัตรคำในการเรียนภาษาจีน ที่มีต่อความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาจีน 2 ประจำภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จำนวน 22 คน เครื่องมือในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บัตรคำจำนวน 20 คำ 3) แบบทดสอบความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีน ระยะเวลาการศึกษาวิจัย 3 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t - test) แบบ dependent ผลการศึกษาการพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีน โดยการใช้บัตรคำ พบว่า คะแนนเต็ม 20 คะแนน สำหรับคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่ไม่ใช้บัตรคำมีค่า 9.91 คะแนน ส่วนคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนโดยการใช้บัตรคำมีค่า 19.41 คะแนน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 นั่นคือ การใช้บัตรคำทำให้ความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีนของผู้เรียนสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยทำให้คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.50

References

กมลทิพย์ รัชชนะกุล. (2548). การใช้สื่อตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมความสนใจ และความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

ภัทรธนน ผจญภัย. (2560). การใช้ภาพเป็นสื่อในการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะในด้านการเขียนเรื่องจากภาพ. วิจัยสถาบัน, โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต.

สมพร หวานเสร็จ. (2552). การพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก โดยใช้สื่อสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการมอง. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2547). วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ. วารสารวิจัยศรีปทุมปริทัศน์, 4(1), 21 - 33.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2550). การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backword Design. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bell-Gredler, M.E. (1986). Learning and instruction. New York : Macmillan.

Birren F.( 1950). Color psychology and color theraphy. New York, NY: McGraw - Hill.

Chan and Kan kan. (2019). Using Augmented Reality Flashcards to Learn Vocabulary in Early Childhood Education. Education computing Research, 57 (7), 1812 - 1831.

Chin - Wen Chien. (2015). Analysis the Effectiveness of Three Online Vocabulary Flashcard Websites on L2 Learners’ Level of Lexical Knowledge. English language Teachings, 8(5), 111 - 121.

Laurie, S. (1972). John Amos Comenius: bishop of the Moravians. New York, NY: Burt Franklin Reprints.

Li - Juiteng and Tong Fuhui. (2019). Multimedia - Assisted Self-Learning Materials: The Benefits of E-Flashcards for Vocabulary Learning in Chinese as a Foreign Language. Reading and Writing: An Interdisciplinary, 32(5), 1175 - 1195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

สวัสดิ์โยธิน ส. . (2022). การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์ตัวอักษรจีนโดยการใช้บัตรคำ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(1), 65–78. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1143