อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผากับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนไทยพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2515-2563

ผู้แต่ง

  • ธันยพงศ์ สารรัตน์ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

เครื่องปั้นดินเผา, ชุมชนไทยพวนบ้านเชียง, อุตสาหกรรม, อุดรธานี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนไทยพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อันเป็นผล จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ระหว่าง พ.ศ. 2515-2563 จากการศึกษาพบว่าก่อน พ.ศ. 2515 ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจยังเป็นแบบยังชีพโดยการทำนาเป็นอาชีพหลักและมีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูทำนา จนกระทั่งระหว่าง พ.ศ. 2515-2555 เริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายในชุมชน อันเนื่องมาจากการตั้งโรงเรียนเสริมอาชีพ และมีการจัดตั้งชุมชนเป็นสุขาภิบาล ตำบลบ้านเชียง ในพ.ศ. 2529 และเปลี่ยนเป็นเทศบาลตำบลบ้านเชียง ในพ.ศ. 2542 ตามลำดับ ผลจากการตั้งฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในจังหวัดอุดรธานี บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง การเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 9 นโยบาย ของรัฐบาลสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา ในระหว่าง พ.ศ. 2538-2539 ที่ส่งเสริมธุรกิจพาณิชย์ในท้องถิ่น และการที่มีผู้เข้าไปประกอบการค้าเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น เป็นผลให้กิจกรรมเครื่องปั้นดินเผามีการขยายตัว แต่ก็ยังมิได้มีผลกระทบต่อสังคมมากนัก ลักษณะทางสังคมยังเป็นระบบเครือญาติ ยึดติดอยู่กับจารีตประเพณี จนกระทั่งภายหลัง พ.ศ. 2555 ถึง พ.ศ. 2563 ได้มีกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัยเข้าไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบของเครื่องปั้นดินเผา และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยจากเดิมที่เคยผลิตเป็นภาชนะใช้สอยมาเป็นเครื่องตกแต่งส่งผลให้เป็นที่รับรู้แพร่หลายมากขึ้น มีการพัฒนาลายเอกลักษณ์ “ลีลาลาย” ใน พ.ศ. 2562 ขณะเดียวกันการที่มีนายทุนและนักธุรกิจภายนอกได้เข้ามาลงทุนเพื่อประกอบกิจการค้าและ ผลิตเครื่องปั้นดินเผาก็มีส่วนทำให้กิจกรรมการผลิตเปลี่ยนแปลงไป จากการผลิตแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาเป็นอุตสาหกรรมที่มีระบบการจัดการในแบบธุรกิจการค้าวิสาหกิจชุมชน และหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผลทำให้สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไป จากวิถีชีวิตที่เคยมีอิสระในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาก็ต้องมาผูกพันกับระบบนายทุน ทำงานตามระบบโรงงาน นายทุนได้เข้ามามีบทบาท ต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ทำให้ผู้ผลิตชาวบ้านบางรายที่เคยผลิตเครื่องปั้นดินเผาต้องหันไปประกอบอาชีพอื่น บางรายเปลี่ยนมาเป็นผู้ใช้แรงงานรับจ้างแทน นอกจากนี้ การที่ภาวะเศรษฐกิจของชุมชนกำลังเติบโตมากขึ้นนี้ เราจะพบปัญหาทางสังคมที่เป็นผลตามมาด้วยเช่นกัน

References

กนิษฐา เรืองวรรณศิลป์. (2557). ลวดลายประทับดินเผาบ้านเชียง: บูรณาการสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 1-25.

กรมศิลปากร. (2560). มรดกโลกบ้านเชียง. กรมศิลปากร.

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2558). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. มติชน.

จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. (2529, 18 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 100 ตอนที่ 167. หน้า 187.

จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. (2549, 10 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 194 ตอนที่ 42. หน้า 124.

ชวลิต การรื่นศรี. (2542). การส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผา[วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม].

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เชี่ยวชาญ แสงทอง. (2556). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์: การศึกษาและพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาบ้านโพนทราย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ประภากร แก้ววรรณา. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เปี่ยมสุข เหรียญรุ่งเรือง. (2537). เอกสารคำสอนประกอบรายวิชาประวัติเครื่องเคลือบดินเผา. วิทยาลัยครูพระนคร.

ผกามาศ ชัยรัตน์ และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). ศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(2), 124-141.

พยงค์ การิเทพ. (2553). การจัดการเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระวิชชญะ น้ำใจดี และ เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในนโยบายการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(2), 283-294.

ไพฑูรย์ มีกุศล. (2523). เอกสารคำสอนประวัติศาสตร์อารยธรรมอีสาน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณแทน ตันบุญต่อ. (2545). ประวัติเครื่องปั้นดินเผาไทย. สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.

มานะ เอี่ยมบัว. (2559). การออกแบบและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(2), 83-96.

โรงเรียนบ้านเชียง. สมุดหมายเหตุรายวันโรงเรียนบ้านเชียง เล่ม 3 ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2497. หน้า 97.

โรงเรียนประถมอาชีพอำเภอหนองหาน. สมุดหมายเหตุรายวันโรงเรียนประถมอาชีพอำเภอหนองหาน เล่ม 9 ลงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2521. หน้า 62.

วิลภา กาศวิเศษ. (2553). การพัฒนาลวดลายเพื่องานออกแบบจากอิทธิพลศิลปกรรมบ้านเชียง [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สพสันติ์ เพชรคำ. (2540). ปากยาม: หมู่บ้านประมงในลุ่มแม่น้ำสงครามกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา (เน้นสังคมศาสตร์)]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านเชียง. (2564). ข้อมูลชุมชนบ้านเชียง 2564. (ม.ป.พ.).

สำนักวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดอุดรธานี. โรงพิมพ์คุรุสภา.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2551). เศรษฐกิจอีสานหลังมีทางรถไฟ (พ.ศ. 2443–2458).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อังคณา แสงสว่าง. (2550). บทบาททางเศรษฐกิจของชาวจีนในจังหวัดฉะเชิงเทราระหว่าง พ.ศ. 2398–2475 [ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์ไทย]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

สารรัตน์ ธ. . (2022). อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผากับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนไทยพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2515-2563. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(2), 1–21. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1158