ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งมงคลในบ้านพักอาศัยของชาวไทย เชื้อสายจีน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ความเชื่อ, สิ่งมงคล, คนไทยเชื้อสายจีนบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งมงคลในบ้านพักอาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งมงคลและ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งมงคลในบ้านพักอาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายคือชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวน 10 ครอบครัว ที่อาศัยอยู่ใน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยทำเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารการสัมภาษณ์ และนำเสนอผลการศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ชาวไทยเชื้อสายจีนที่มาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดมหาสารคามส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวจีนแต้จิ๋ว ยังคงยึดมั่นในประเพณีวัฒนธรรมความเชื่อ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและผสานวัฒนธรรมความเชื่อของตนเองกับความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษจนมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน โดยลักษณะของความเชื่อและการถือโชคลางต่าง ๆ เป็นรูปแบบของความเชื่อต่อเนื่องในทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ชาวจีนให้ความสำคัญกับการอวยพรและความเป็น สิริมงคลของชีวิตเป็นอย่างมากมาแต่โบราณ การมอบสิ่งของที่สื่อถึงความเป็นสิริมงคล เพื่อมุ่งหวังให้สิ่งมงคลจีนเหล่านั้น นำมาซึ่งชีวิตที่มีความสุขสมบูรณ์ราบรื่นตามความเชื่อคติจีนนิยมสามารถแบ่งกลุ่มของความเชื่อได้เป็น 2 ด้าน คือ สิ่งมงคลจีนที่คอยปกปักรักษาคุ้มครองรวมทั้งปัดเป่าสิ่งอัปมงคล เช่น ตี่จู้เอี๊ย (地主爷) และ สิ่งมงคลจีนที่ ให้ความหมายในด้านความมั่งคั่ง ร่ำรวย การค้า เช่น ปี่เซี่ย (貔貅) ความเชื่อเกี่ยวกับ สิ่งมงคลล้วนได้รับอิทธิพลมาจากครอบครัวและบรรพบุรุษชาวจีนมาแต่โบราณต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และมีความเชื่อจากศาสนาพุทธของชาวไทยได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น เป็นรูปแบบความเชื่อผสมผสาน มีปัจจัยมาจาก เศรษฐกิจ เวลา สังคมและครอบครัว ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ยุคสมัยตลอดเวลา
References
กนกพร เจริญแสนสวย. (2557). การศึกษามิติสัมพันธ์ของความเชื่อส่วนบุคคลในเทพเจ้ากวนอู สำหรับการสร้างแรงพลักดันทางธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราช [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กลุ่มวิทยาลัยครูภาคใต้. (2526). ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม. กรุงสยามการพิมพ์.
สุนันท์ อุดมเวช. (2524). คติชนวิทยา. วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2561). สิริมงคลจีนกับความเชื่อทางศาสตร์ฮวงจุ้ยของชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(5), 119-143.
ทำเนียบสมาชิกสมาคมชาวจังหวัดมหาสารคาม. (2557). ศาลเจ้าปุงเถ่ากงม่า. ทำเนียบสมาชิกสมาคมชาวจังหวัดมหาสารคาม.
ไม้มงคลจีน. (2564, 18 มิถุนายน). https://www.wonderfulpackage.com/article/v/427/
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. อักษรเจริญทัศน์.
Jantaronanon, P. (2007). Chinese lucky wood: Chinese auspicious on tree, flower, and fruit (ไม้มงคลจีน : เรื่องสิริมงคลที่เกี่ยวกับต้นไม้ ดอกไม้ และผลไม้). Ramkhamhaeng University Journal Humanities Edition, 24(2), 95-115.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.