แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวย ในชุมชนบ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วันชัย ทิพนัส สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จินณพัษ ปทุมพร สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวและไมซ์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, วัฒนธรรมเกี่ยวกับศิลปะมวยไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวย ในชุมชนบ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวยในชุมชนบ้านขาม 2) ศึกษาสภาพการณ์ด้านห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวย ในชุมชนบ้านขาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน โดยแบ่งออกเป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับมวยไทย จำนวน 200 คน และนักท่องเที่ยว ที่ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับมวยไทย จำนวน 200 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลกับกลุ่มหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวย ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เคย มีประสบการณ์เกี่ยวกับมวยไทย ให้ค่าเฉลี่ยความสำคัญต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ทางการท่องเที่ยวเป็นอันดับแรก รองลงคือปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัย ด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา ขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับมวยไทย ให้ค่าเฉลี่ยความสำคัญต่อปัจจัยด้านราคาเป็นอันดับแรก รองลงมาคือปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้าน การส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ 2) พื้นที่ชุมชนบ้านขามมีความพร้อมด้าน การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวครบองค์ประกอบทั้ง 5 ด้าน (5A’s) ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านที่พัก อีกทั้งยังมีความพร้อมด้านเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวที่เข้มแข็ง โดยจากผลการวิจัยทั้ง 2 ประเด็นสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในจัดกิจกรรม การท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั้ง 2 กลุ่ม และกำหนดแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวยในชุมชนบ้านขามให้มีประสิทธิภาพในการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. (ม.ป.พ.).

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. https://www.mots.go.th

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย. https://www.mots.go.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2557). แรงจูงใจในการท่องเที่ย. https://www.tat.or.th/th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). เศรษฐกิจการท่องเที่ยว (The Visitor Economy) โดย Pacific Asia Travel Association (PATA). http://www.etatjournal.com

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2558). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เตชิตา ไทยอ่อน. (2557). ความคาดหวังของลูกค้าชาวต่างชาติที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของค่ายมวยไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต].

มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย. (2561). การท่องเที่ยวเชิงกีฬา. http://www.siam-ja.com

นปภัสร์ ชูสุวรรณ. (2560). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาชมมวยไทย ของนักท่องเที่ยวชาวต่างขาติ.

http://dspace.bu.ac.th/bitstream

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2556). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

ปาณิศา มีจินดา. (2556). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว: กรณีศึกษาทะเลน้อยตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์ปริญญา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพฑูรย์ พงศะบุตร และ วิลาสวงศ์ พงศะบุตร. (2554). คู่มือการอบรมมัคคุเทศก์. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนทิรา สังข์ทอง และคณะ. (2560). โซ่อุปทานการท่องเที่ยวของกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์. http://www.spucon.spu.ac.th

มานะ ชัยวงค์โรจน์. (2546). คุณรู้จัก Supply Chain ดีจริงหรือ?. โปรดักทิวิตี้ เวิลด์,8(44), 25–30.

ยุทธนา คำพา และอัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2560). องค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’S ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเขาชีจรรย์

ของนักท่องเที่ยวชาวจีน. www.ex-mba.buu.ac.th

สำนักพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำพอง. (2560). รายละเอียดการเดินทางในชุมชนบ้านขาม. http://cbt.nawatwithi.com

สุธี ปิงสุทธิวงศ์. (2556). Essential management tools for performance excellence. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม. (2562). ข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่. http://bankham-kk.go.thBuhalis Dimitrios. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Department of Tourism, University of Westminster.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons. Inc.

Gibson. (2004). Sport Tourism. http://digital_collect.lib.buu.ac.th

Hudman L. E. (1980). Tourism: A shrinking world. AHMA.

Maier and Weber. (1993). Sports Tourism in Local and Regional Planning. https://www.tandfonline.com

Min and Mentzer. (2010). A Framework of Supply Chain Orientation. https://www.researchgate.net

Zhang, X., Song, H., & Huang, G. Q. (2009). Tourism supply chain management: A new research agenda. Tourism Management,

(3), 345-358.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

ทิพนัส ว. ., & ปทุมพร จ. . (2022). แนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมวย ในชุมชนบ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(2), 144–166. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1165