ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ปวีณ ไชยวงค์วิลาน สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ณฐวัฒน์ ล่องทอง สาขาจิตวิทยาการปรึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

เสริมสร้างความหมายในชีวิต, โปรแกรมการฝึกอบรม, นักศึกษามหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2563 ที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการจับฉลาก ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 6 ครั้ง รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง และกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบวัดความหมายในชีวิตและโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิต โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล dependent sample t-test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความหมายในชีวิตก่อนและหลังการทดลองของนักศึกษาในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและ independent sample t-test ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองมีคะแนนความหมายในชีวิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม การฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนความหมายในชีวิตสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

References

ชูชัย สมิธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงมณี จงษ์รักษ์. (2549). ทฤษฏีการให้การปรึกษาและจิตบำบัดเบื้องต้น. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ธัญณิชา เปไธสง. (2557). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฏีอัตถิภาวนิยมที่มี ต่อความหมายในชีวิตของวัยรุ่น [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประณต เค้าฉิม. (2551). ลักษณะของพ่อแม่ที่วัยรุ่นต้องการ. วารสารโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 5(1), 78-85.

พงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2545). จิตวิทยาการฝึกอบรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มัทนาวดี ตันสกุล. (2552). ความหมายของชีวิตในทัศนะผู้พิการทางสายต [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาปรัชญา]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรัชนี เคนโพธิ์. (2560). การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2559). จิตบำบัดแนวความหมายในชีวิต (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุสา สุทธิสาคร. (2559). จิตวิทยาวัยรุ่น. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

Bergner, M.R. (1998). The Approaches to Problems of Meaninglessness. American Journal of Psychotherapy, 52(1), 72-87.

Dezelic, S. M., & Ghanoum, G. (2015). Meaning-Centered Therapy Manual: Logotherapy & Existential Analysis Brief Therapy Protocol for

Group & Individual Sessions. Miami: Presence Press International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

ไชยวงค์วิลาน ป. ., & ล่องทอง ณ. . (2022). ผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(2), 187–205. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1167