การประเมินโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ กรณีศึกษาชุมชนบึงบางซื่อ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ, โครงการสานพลังประชารัฐ- การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ, ชุมชนบึงบางซื่อ, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาการบริหารกิจการบ้านเมือง แบบร่วมมือในโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ 2. เพื่อวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือของโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ และ 3. เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการที่ได้รับจากการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจากคณะทำงานปฏิบัติการ ได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาชน จำนวน 8 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดย การวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างแก่นสาระข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวชุมชนบึงบางซื่อ จำนวน 297 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือในโครงการสานพลังประชารัฐ-การพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ พบว่า เอสซีจี ดำเนินด้วยการตกลงร่วมกัน โดยอาศัยแรงจูงใจร่วม ซึ่งเกิดขึ้นจากใช้ภาวะผู้นำแบบอำนวยความสะดวกในฐานะผู้นำเครือข่าย ด้วยการ เปิดโอกาสให้สำนักงานเขตจตุจักร ประธานสหกรณ์ ได้เข้ามาออกแบบเครือข่าย และร่วมสนับสนุนทรัพยากรดำเนินโครงการ อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.91) 2. จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการบริหารกิจการบ้านเมือง แบบร่วมมือ พบว่า การตกลงร่วมกัน จุดแข็งเป้าหมายมีความชัดเจน จุดอ่อนการพูดคุย มีความยุ่งยาก โอกาสทุกหน่วยงานเกิดการวางบุคคล อุปสรรคไม่มีความคล่องตัวใน การบริหารงาน ขณะที่แรงจูงใจร่วม จุดแข็งมีความเข้าใจพื้นที่ จุดอ่อนการสื่อสารไม่ค่อยมีความชัดเจน โอกาสชาวบ้านมีความสนใจต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย อุปสรรคบางคน ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข ส่วนความสามารถในการดำเนินโครงการ จุดแข็งหน่วยงาน มีความรู้ความสามารถ จุดอ่อนทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ โอกาสหน่วยงานดูแลช่วยเหลือทำให้การดำเนินงานได้สะดวก และอุปสรรคชาวบ้านมีความกังวลต่อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 3. ผลการดำเนินโครงการที่ได้รับจากการบริหารกิจการบ้านแบบร่วมมือ ได้แก่ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต พบว่า มีความสอดคล้องในแต่ละด้าน เช่น ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต อีกทั้ง มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (
=3.94)
References
จุฬารัตน์ คนเพียร. (2558). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิตยสาร Cons magazine. (2560). โครงการสานพลังประชารัฐ เอสซีจีกับการพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ. http://www.consmag.com/th/articles/โครงการสานพลังประชารัฐ เอสซีจีกับการพัฒนาพื้นที่บึงบางซื่อ
บุญชม ศรีสะอาด. (2539). การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตรส่วนประมาณค่า. วารสารการวัดผลประมาณค่า, 2(1), 66-68.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). ศรีอนันต์การพิมพ์.
โพสทูเดย์. (2561). สานพลังประชารัฐบึงบางซื่อ ผนึกกำลังฟื้นฟูชุมชนแออัดสู่ชุมชนต้นแบบ. https://www.posttoday.com/pr/547483
มติชนออนไลน์. (2561). บึงบางซื่อ ต้นแบบการพัฒนาวิถีประชารัฐ. https://www.matichon.co.th/local/quality life/news_921968
วสันต์ ศรีสมพงศ์. (2559). การบริหารจัดการแบบร่วมมือในโครงการคลองหมอนนา ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศมานันท์ ทองธรรมชาติ และสุขุม เฉลยทรัพย์. (2557). ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(2), 25-32.
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Rasha Elsaheli Elhage. (2014). Assessment Practices of students with learning disabilities in Lebanese private schools: A National survey. Doctorial dissertion, University of Wayne State, Evaluation and Research.
Zou, K. H., Tuncali, K., & Silverman, S. G. (2003). Correlation and simple linear regression. Radiology, 227(3), 617-628.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.