การศึกษากลยุทธ์ความสุภาพของแอดมินเพจ Facebook ธนาคารพาณิชย์ไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์
คำสำคัญ:
กลยุทธ์ความสุภาพ, วัจนปฏิบัติศาสตร์, ธนาคารพาณิชย์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ความสุภาพในการตอบกลับความคิดเห็นของลูกค้าของแอดมินเพจ Facebook ธนาคารพาณิชย์ไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ โดย เก็บข้อมูลการตอบกลับความคิดเห็นของลูกค้าโดยผู้ที่ทำหน้าที่แอดมินเพจของธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2560 จากเพจธนาคารจำนวน 7 เพจของธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ผลการวิจัยอิงตามทฤษฎีความสุภาพของบราวน์และเลวินสันพบว่า การตอบกลับของแอดมินแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ การบอกกล่าว/ให้ข้อมูล การขอร้อง และการปฏิเสธ กลยุทธ์ความสุภาพที่มี การใช้มากที่สุดคือกลยุทธ์การยกย่องและการขอโทษ ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์ความสุภาพของแอดมิน ได้แก่ ระยะห่างทางสังคมของแอดมินและลูกค้าธนาคารในความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคู่สนทนา
References
ดียู ศรีนราวัฒน์. (2544). กลวิธีการสื่อสารด้วยการพูดอ้อมของคนไทย. วารสารศิลปศาสตร์, 1(2), 85-101.
ทรงธรรม อินทจักร. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชาวัจนปฏิบัติศาสตร์. ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2549). การศึกษาความสุภาพในการขอร้องและการปฏิเสธในการติดต่อธุรกิจทางจดหมายในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เยาวลักษณ์ กระแสร์สินธุ์. (2529). กลวิธีการทำภาษาให้สุภาพในภาษาไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2529). ความสุภาพในภาษาไทยกรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิรวัตร ไทยแท้ และปนันดา เลอเลิศยุติธรรม. (2554). กลวิธีความสุภาพในการปฏิเสธการขอร้องของผู้โดยสารจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(2), 141-156.
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2549). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. สามลดา.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2560. https://techno.coj.go.th/th/content/category/detail/id/1874/cid/1876/iid/15442
Brown, P., & Stephen, C. L. (1978). Universals in Language Usage: Politeness Phenomena. E. N. Goody (ed.). Questions and Politeness: Strategies in Social Interaction. Cambridge: Cambridge University Press.
Brown, P., & Stephen, C. L. (1987). Politeness: Some Universals in Language Usage. Cambridge: Cambridge University Press.
Gu, Y. (1990). Politeness phenomena in Modern Chinese. Journal of Pragmatics, 14(2), 237-257. https://doi.org/10.1016/0378-2166(90)90082-O
Lakoff, R. T. (1989). The Way We Are; or, the Real Actual Truth about Generative Semantics: A Memoir. Journal of Pragmatics, 13(6), 939-988. https://doi.org/10.1016/0378-2166(89)90016-7
Leech, G, N. (1983). Principles of Pragmatics. Longman.
Yu, M. C. (2003). On the Universality of Face: Evidence from Chinese Compliment Response Behavior. Journal of Pragmatics, 35(10-11), 1679-1710. https://doi.org/10.1016/S0378-2166(03)00074-2
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.