การแสดงในพิธีกรรมรำบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ
คำสำคัญ:
การแสดงในพิธีกรรม, การแสดงในพิธีกรรมรำบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพบทคัดย่อ
การแสดงในพิธีกรรมรำบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา องค์ประกอบของพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ รูปแบบของดนตรีและนาฏศิลป์ ตำบลศรีเทพน้อย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้กระบวนการทางประวัติศาสตร์ นาฏยประดิษฐ์ แผนภูมิดนตรีและนาฏศิลป์ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจัดเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสังเกตการณ์ อย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์พบว่า พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพเป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากความเชื่อและความเคารพ เจ้าพ่อศรีเทพของชาวอำเภอศรีเทพที่สืบต่อมาอย่างช้านาน โดยเชื่อว่า เจ้าพ่อศรีเทพ จะช่วยปกป้องชาวบ้านให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งองค์ประกอบของพิธีบวงสรวงคือ 1. บุคคล 2. เวลาสถานที่ 3. เครื่องเซ่นสังเวย 4. อุปกรณ์ ในด้านรูปแบบของดนตรีนาฏศิลป์พบว่า มีการใช้เครื่องดนตรี 2 ชนิด คือ โจ๋งและโหม่ง เพื่อประกอบ การแสดงและใช้ท่ารำ ในพิธีทั้งหมด 7 ท่า คือ 1. ท่าเดิน 2. ท่าสอดสร้อย 3. ท่าเยื้องกราย 4. ท่าให้ 5. ท่าไหว้ 6. ท่ายูงฟ้อนหาง 7. ท่าชี้
References
กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม. (2552). พิธีกรรมและประเพณี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ธีราพร ทวีธรรมเจริญ. (2553). "การเรียนรู้วิถีชุมชนจากแนวคิดในทฤษฎีโครงสร้างทางสังคมและทฤษฎีชุมชน". วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(1), 104-116.
นคร พันธุ์ณรงค์. (2525). วัฒนธรรมพื้นบ้านนาตะกรุด ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. ศูนย์สุโขทัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ประทีป นักปี่. (2551). เอกสารประกอบการบรรยายหลักการแนวความคิดการวิเคราะห์ดนตรีและนาฏศิลป์. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
มติชน. (2556, 10 กุมภาพันธ์). พิธีบวงสรวง “เจ้าพ่อศรีเทพ” เมืองเพชรบูรณ์ จัดสร้างศาลหลังใหม่. มติชน, 23.
สุรพล วิรุฬรักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.