ประสิทธิผลของกลยุทธ์การเสริมศักยภาพการทำข้อสอบโทอิค สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
ทักษะการฟัง, ทักษะการอ่าน, โทอิค, กลยุทธ์เสริมศักยภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ข้อจำกัดของศักยภาพ การทำข้อสอบโทอิค 2) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลของกลยุทธ์การเสริมศักยภาพการทำข้อสอบโทอิค ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยใช้วิธีแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา 55 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือข้อสอบจำลองโทอิค (Mock-test) และข้อสอบ วัดระดับการทดสอบความสามารถทางภาษาหรือโทอิค (TOEIC : Test of English for International Communication) โดยใช้วิธีทางสถิติบรรยายวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป (Zip grade) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีศักยภาพในการทำข้อสอบฟังมากกว่าข้อสอบอ่าน โดยทักษะการฟัง นักศึกษามีข้อจำกัดในทักษะการคาดคะเน (Prediction), ทักษะ การฟังเพื่อหารายละเอียดเฉพาะ (Specific Details), และทักษะการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ (Main Idea) ตามลำดับ ส่วนทักษะการอ่านนั้น นักศึกษามีข้อจำกัดในทักษะการอนุมาน จากการอ่าน (Inference), คำศัพท์ (Vocabulary) และชนิดของคำ (Part of speech) ตามลำดับ 2) ส่วนประสิทธิผลของกลยุทธ์การเสริมศักยภาพการทำข้อสอบโทอิค เปรียบเทียบคะแนน t-test จากการสอบข้อสอบจำลองวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการทำงาน (TOEIC) พบว่า คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 402 คะแนน ใน ระดับ Elementary Proficiency ซึ่งนักศึกษา มีคะแนนสูงกว่าก่อนสอบ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์. (2563). การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับการเตรียมสอบTOEIC. วารสารราชพฤกษ์, 18(3), 30-38.
กฤษณ์ วิทวัสสำราญกุญ (2016). Increasing TOEIC Scores by Using Listening by Keywords: A Quasi-Experiment Research in Aviation Business Undergraduate Students, The 6th STOU National Conference การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 6 (น.1-8). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชลิดา อมแย้ม. (2562). การวิเคราะห์เนื้อหาในข้อสอบโทอิค, การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (น. 223-243). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ฐิตาภา สินธุรัตน์, รสสุคนธ์ สนคง และบรรเทา เพิ่มเกษตรวิทย์. (2563). ประสิทธิผลของการสอนเตรียมความพร้อมในการสอบโทอิคโดยอาจารย์ชาวต่างชาติด้วยวิธีการสอนภาษาแบบสื่อสาร สำหรับนักศึกษาเอกภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(1), 197-217.
ณัฐกมล หรรษกรคณโชค(2563). การพัฒนาเกมทายคำศัพท์ภาษาอังกฤษโทอิคบน 2559 อุบลราชธานี, 22(2), 81-87.
พัลลภา เลิศเริญวนิช. (2563). Washback Effect of Direct TOEIC Preparation Class on Student Motivation. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(1), 304-316.
รณวีร์ พาผล, จารุณี นาคเจริญ, สลิลา ศรีรัตนบัลล์, นันทิยา ศิลาชัน, และธนางกูร ขำศรี. (2563). การวิเคราะห์ปัญหาทักษะการฟังและการอ่านในการทำข้อสอบโทอิคของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. Journal of Buddhist Education and Research: ABER, 6(2), 239-251.
Maliwan, S. (2018). TOEIC Preparation Course for Personnel Development Institute Students. Kasem Bundit Journal, 19(Special Edition), 234-243.
Suvanaphaet, K. M. (2017). Evaluation of the effectiveness of a lesson plan combining the Direct Teaching Method (DM) and the Task Based Learning teaching (TBLT) approach in context of an intensive TOEIC course for Thai students from Silpakorn Uniersity Animal Science and Agricultural technology Phetchaburi IT Campus. Veridian E-Journal, Silpakorn University International (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(5), 35-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.