การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้าง สุขภาพ กีฬา นันทนาการและอาชีพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • สรวงพร กุศลส่ง สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • วิชญาพร อ่อนปุย สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • พิชญาภา ตรีวงษ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

กีฬา, นันทนาการ, อาชีพ, ผู้สูงอายุในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1. ศึกษาบริบทผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. สร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม กีฬา นันทนาการและอาชีพผู้สูงอายุในชุมชน 3. ประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม กีฬา นันทนาการและอาชีพผู้สูงอายุ ในชุมชน และ 4.ส่งเสริมนักศึกษาให้สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษา สู่การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชนกลุ่มเป้าหมาย คือผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบ้านติ้ว จำนวน 105 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาบริบทผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 1) ด้านอาชีพ เรียงลำดับดังนี้ (1) เกษตรกร (2) เลี้ยงหลาน (3) ค้าขาย 2) ด้านรายได้ พบว่า (1) รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (2) รับจากลูกหลาน (3) ค้าขาย 3) ด้านการเป็นอยู่มักอาศัยอยู่กับลูกหลาน 4) ด้านสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ได้แก่ ผ้ามุก 5) ด้านความต้องการ (1) อยากให้มีการจัดกิจกรรมใหม่ ๆ และอยากให้มี การจัดกิจกรรมอย่างมาก 2. ผลการสร้างและทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม พบว่านักศึกษาสามารถออกแบบกิจกรรมโดยบูรณาการร่วมกัน 3 สาขาวิชาได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาและนักศึกษาสาขาการงานอาชีพและเทคโนโลยี พร้อมทั้งเป็นผู้นำผู้ตามในการฝึกซ้อมเพื่อนและดำเนินกิจกรรมร่วมกันได้ 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุหลังได้รับการจัดกิจกรรมพบว่า 1) ด้านการปฏิบัติกิจกรรม กีฬา นันทนาการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.68, S.D= 0.18) อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านการผลิตดอกไม้มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (gif.latex?\bar{x}= 4.75, S.D= 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านการผลิตกระเป๋าผ้ามุก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.79, S.D = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านการสร้างพวงกุญแจผ้ามุก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (gif.latex?\bar{x}= 4.82, S.D = 0.13)อยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการปฏิบัติของนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากการศึกษาสู่การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับชุมชนได้โดยสามารถร่วมดำเนินการออกแบบกิจกรรมวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี

References

กรมสุขภาพจิต. (2563, 5 ตุลาคม). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่าง สมบูรณ์แบบ. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการ.

นวลฉวี ประเสริฐสุข. (2559). การศึกษาแนวทางส่งเสริมความสุขของผู้สูงอายุในอาเซียน. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์. (2564). โครงการยุวชนอาสาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์.

มารุต พัฒผล. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(3), 682-699.

วรรณวิสาข์ ไชยโย. (2555, 10 มีนาคม). ทรรศนะเรื่องความสุขในผู้สูงอายุ กรณีศึกษาบ้านวัยทองนิเวศน์. http://journal.human.cmu.ac.th.

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย-อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. (2554, 23 ธันวาคม). ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย-อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. http://phetcha bun.kapook.com/%E0%B8%

สำนักงาน ก.พ. (2560, 1 ตุลาคม). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). วาระปฏิรูปที่ ๓๐ : การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์. (2562, 10 มีนาคม). วิเคราะห์สถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2562. http://phchabun.nso.go.th

อนุวัติ คูณแก้ว. (2562). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

กุศลส่ง ส. . ., อ่อนปุย ว. . ., & ตรีวงษ์ พ. . . (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้าง สุขภาพ กีฬา นันทนาการและอาชีพผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(1), 61–84. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1175