การจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
คำสำคัญ:
ศักยภาพ, การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, อำเภอเมืองนครสวรรค์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้าน การท่องเที่ยวเชิงอาหารต่อความพร้อมด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวก สิ่งอำนวย ความสะดวก และการบริหารจัดการที่ดี และ 2) เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการท่องเที่ยว เชิงอาหารในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ให้เกิดความยั่งยืน ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวใช้บริการร้านอาหารทั้งสิ้น 500 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติ เชิงพรรณนาแสดงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความพึงพอใจในด้านการบริหารจัดการที่ดีของร้านอาหารในระดับมากที่สุด ในขณะที่ความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้ตอบแบบสอบถามพึงพอในในระดับปานกลาง เนื่องจากร้านอาหารบางแห่งเข้าถึงได้ยาก และมีข้อจำกัดด้านที่จอดรถ ผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่า การท่องเที่ยวเชิงอาหารในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ยังไม่มีความพร้อมและไม่มีศักยภาพมากเพียงพอ จังหวัดนครสวรรค์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านอาหารแต่ยังไม่ใช่เมืองหลักที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยว 2) แนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ ควรมีการประชุมร่วมกัน ปรึกษาและหาแนวทางในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเดินทางซ้ำ และการบอกต่อ รวมถึงต้องมีการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พัก และร้านของฝาก รวมทั้งมีการส่งเสริมให้นครสวรรค์เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่อไป
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. http://www.jpp.moi.go.th/ files/MOTS.pdf
ชนิษฐา ใจเป็ง. (2561). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารริมทางบนถนนตลาดวโรรส เชียงใหม่. สรุปการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 (น.198-208) มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา. มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
ชาคริต อ่องทุน และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). ศักยภาพการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารริมทางบนถนนเยาวราช. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 6(1), 129-137.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24 (1), 103-116.
ภูริ ชุณห์ขจร และคณะ. (2563). การสร้างแรงจูงใจในการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยท้องถิ่นเสริมภูมิต้านทาน ในวิถีชุมชนสุขภาพ หลังการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 11(2), 143-154.
ศรุดา นิติวรากร. (2557). อาหารไทย: มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5(1), 171-179.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.
หทัยชนก ฉิมบ้านไร่ และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2558). ศักยภาพอาหารพื้นเมืองและแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านอาหารพื้นเมืองจังหวัดน่าน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 11(1), 37-53.
อภินันท์ จันตะนี. (2550). สถิติและการวิจัยทางธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
CNN Travel. (2021, April 14). CULINARY JOURNEYS. The world's 50 best foods.https://edition.cnn.com/travel/article/world-best-food-dishes/index.html?fbclid=IwAR1hRiy5-Jy_3SvRdzEQFa5blOwtlm-zEEZifPPrPgfcjzdPAf_N2jdUb5Y
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.