การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบที่ใช้บุพบท “比” ของนักเรียนห้องศิลป์ภาษาจีน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด, ไวยากรณ์, ประโยคเปรียบเทียบ, บุพบท “比”บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “比” ในภาษาจีน และวิเคราะห์มูลเหตุของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น อีกทั้งได้เสนอแนะแนวทางการสอนไวยากรณ์ประโยคเปรียบเทียบ “比” ประชากร คือ นักเรียนห้องศิลป์ภาษาจีน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเพชรพิทยาคมและโรงเรียนวิทยานุกูลนารี จำนวน 45 คน โดยใช้แบบทดสอบการแปลประกอบการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของข้อผิดพลาดที่ปรากฏ มีทั้งหมด 282 ครั้ง โดยโครงสร้างประโยคที่ปรากฏข้อผิดพลาดมากที่สุด คือ โครงสร้าง “A 比B + 还 + คุณศัพท์” คิดเป็นร้อยละ 26.24 ส่วนโครงสร้าง “A 比B + คุณศัพท์” เป็นโครงสร้าง ที่ปรากฏข้อผิดพลาดน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 7.09 ลักษณะของข้อผิดพลาด ที่พบมากที่สุด คือ ข้อผิดพลาด จากการเลือกใช้คำไม่เหมาะสมหรือมีความหมาย ใกล้เคียงกัน คิดเป็นร้อยละ 36.87 และน้อยที่สุด คือ ข้อผิดพลาดจากการเกินมาของคำหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ร้อยละ 8.51 ซึ่งมูลเหตุของความผิดพลาดสามารถสรุปเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ มูลเหตุจากตัวผู้เรียน อิทธิพลจากภาษาแม่ และการถ่ายโอนเชิงลบของภาษาเป้าหมาย ในด้านการสอน ผู้สอนควรเริ่มจากอธิบายรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานและส่วนประกอบหลักของประโยค จากนั้นจึงสอนโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น กอปรกับการยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับภาษาแม่ และสังเกตข้อผิดพลาดของผู้เรียนในขณะทำการสอน กระบวนการสุดท้าย คือ การออกแบบแบบฝึกหัดให้เหมาะสม รวมถึงสนับสนุนและกำหนดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปใช้
References
กนกพร นุ่มทอง. (2563). การศึกษาปัญหาการแปลบทขยายและส่วนเสริมจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย. วารสารภาษาและภาษาศาสตร์, 38(2), 89-105.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ.
ชัชศรัณย์ ฉัตรแสงอุทัย. (2556). การศึกษาวิเคราะห์การใช้คำเชื่อมบอกความร่วมในภาษาจีนกลางของผู้เรียนชาวไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (2563). รายงานการสำรวจความต้องการการรับบริการวิชาการแก่สังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2563. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
แพรวา เพชรเชิดชู. (2552). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการใช้คำบุพบทภาษาจีนของนักเรียนไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Corder, S. P. (1973). Introducing Applied Linguistics. Penguin.
Jakobovits. (1971). Teaching Language as Communication. Oxford University Press.
Jia, C. L. (2019). Error Analysis of “bi” Sentences in Chinese of Foreign Students. The Farmers Consultant Magazine, 39(2), 172.
Liu, X. (2000). Introduction to Teaching Chinese as a Foreign Language. Beijing Language and Culture University Press.
Liu, X.L. (2011). “bi” in Teaching and Learning Chinese as a Foreign Languages. Language Teaching and Linguistic Studies, 33(5), 127-128.
Lu, J.J. (1994). Error Analysis of Foreigners Learning Chinese. Language Teaching and Linguistic Studies, 16(1), 49-64.
Song, X.X. (2019). Error Analysis of “bi” Sentences in Chinese of Foreign Students. https://www.sinoss.net/uploadfile/2019/0226/2019022
pdf.
Wang, X. (2012). Teaching Chinese as a Foreign Language of “bi” Sentences. Modern Chinese (Teaching Research Edition), 50(1), 300-301.
Zhou, X.B., Li, H.O. (2004). Introduction to Teaching Chinese as a Foreign Language. Sun Yat-sen University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.