กลยุทธ์ในการสืบค้นวีดีโอสื่อการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้ hashtag (#) คำว่า ภาษาจีน

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ เจริญสะอาด กลุ่มวิชาภาษาจีน สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • เอกชัย แสงจันทร์ทะนุ กลุ่มวิชาภาษาจีน สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • ปิยนนท์ หลวงอินทร์ กลุ่มวิชาภาษาจีน สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

การสืบค้น, ภาษาจีน, TikTok, hashtag

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์และกลยุทธ์ในการค้นหาสื่อวีดีโอ การเรียนรู้ภาษาจีนบนแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้ hashtag ที่มีคำว่า “ภาษาจีน” จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่าผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้จากการค้นหาสามารถแบ่งได้เป็น สองประเภทใหญ่คือ 1. hashtag ที่มีลักษณะไม่จำเพาะ จะแสดงผลลัพธ์ครอบคลุม ทุกหมวดเนื้อหา รวมไปถึงเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ภาษาจีน” 2. hashtag ที่มีลักษณะจำเพาะ จะพบผลลัพธ์เฉพาะบางหมวด ดังนั้นการเลือก hashtag ที่ไม่กว้างเกินไป มีความแม่นยำ เลือกคำค้นที่ใกล้เคียงกับเนื้อหาที่ต้องการสืบค้น และควรใช้ hashtag ในการค้นหาอย่างน้อยสองถึงสามแบบ จะสามารถค้นหาสื่อวีดีโอได้ตรงกับความต้องการของผู้สืบค้นมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในมุมของผู้ผลิตสื่อ การตั้งชื่อ hashtag ที่ดีควรตรงกับเนื้อหา ไม่เว้นวรรค ไม่ใส่สัญลักษณ์ และไม่ควรใช้คำที่จำเพาะหรือเฉพาะกลุ่มเกินไป ในเรื่องการติด hashtag ไม่ควรติดมากเกินความจำเป็นและไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

References

จิตรา วรรณสอน. (2562). รูปแบบการทําตลาดแบบเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกลุ่มเจเนอเรชันซี (Z). ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 14 ประจําปี 2562 เรื่องวิจัยและนวัตกรรมเพื่อประเทศไทย 4.0 (น. 415-423). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ณัฐชนน บูรณะ. (2564, 24 กันยายน). สอนทำโฆษณา TikTok Ads ละเอียดยิบ แบบฉบับจับมือทำ. https://foretoday.asia/articles/tiktok-ads-how-to/

ยุพดี หวลอารมณ์, จิดาภา อมรางกูร และวัชราภรณ์ เจริญสะอาด. (2564). การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนผ่านแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างเเรงจูงใจในการเรียนรู้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(1), 37-52.

เสกสรร สายสีสด, ณัฐวุฒิ คำทวี, ธิฆัมภรณ์ แกล้วกล้า, วราภรณ์ โพนแป๊ะ, เอกรัตน์ แซ่อึ้ง และภัคจิรา ทองนิล. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของนักเรียน นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(3), 11-26.

Bahiyah, O., & Wang, D. Q. (2020, march 12). Watch, Share or Create: The Influence of Personality Traits and User Motivation on TikTok Mobile Video Usage. iJIM, 14(4), 121-136. https://doi.org/10.3991/ijim.v14i04.12429

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

เจริญสะอาด ว. ., แสงจันทร์ทะนุ เ. ., & หลวงอินทร์ ป. . (2022). กลยุทธ์ในการสืบค้นวีดีโอสื่อการเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้ hashtag (#) คำว่า ภาษาจีน. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(1), 165–187. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1180