ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5

ผู้แต่ง

  • ชีวารัตน์ ปิมแปง สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อัยรดา พรเจริญ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • อัยรดา พรเจริญ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ฐิติพร อุ่นใจ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, วัฒนธรรมขององค์กร, ค่านิยมร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Taro Yamane, 1973: 727) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่าทีและการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่านิยม กลยุทธ์ ระบบ ลักษณะงาน และวัฒนธรรมขององค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 ได้ร้อยละ 38.10 (R2adj= .381) 2) บุคลากรที่มีอายุต่างกัน ให้ความสำคัญ วัฒนธรรมขององค์กรและลักษณะงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่านิยมร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญวัฒนธรรมขององค์กรและลักษณะงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 บุคลากรที่มีประเภทตำแหน่งให้ความสำคัญลักษณะงาน กลยุทธ์ ระบบ ค่านิยมร่วม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12(พ.ศ. 2560-2564). http://www.mua.go.th/

ธัญญามาส โลจนานนท์. (2557). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทํางานที่ส่งผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์ ของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จํากัด [วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง: กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบรูพา.

ประดิษฐ์ สร้อยเพชร. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งหนึ่งส่วนงานวิศวกรรมที่ทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82. หน้า 3.

วรรณา อาวรณ์. (2557). แรงจูงใจในการทํางานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภา ระดับปฏิบัติงาน สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร [สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

ศรัณย์นภา ทัศนัยนา. (2557). การศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นําเชิงพฤติกรรมของผู้จัดการต่อระดับความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การและประสิทธิผลขององค์การ กรณีศึกษาธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) คลัสเตอร์ปิ่นเกล้า [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. (2563). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2563. เอกสารหมายเลข 5/2563. www.ubon5.go.th

Pawirosumarto, S., Sarjana, P.K., & Muchtar, M. (2017). "Factors affecting employee performance of PT.Kiyokuni Indonesia", International Journal of Law and Management, 59(4), 602-614.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). Harper and Row.

Yuwantari, V., Sumartono, S., & Saleh, C. (2020). “Evaluation of BTIP’s Performance After the Implementation of PPK-BLU Policy in Indonesia”. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 7(10), 491-499.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-27

How to Cite

ปิมแปง ช. . ., พรเจริญ อ. . ., พรเจริญ อ. . ., & อุ่นใจ ฐ. . . (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(1), 188–206. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1181