การพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, การสร้างโอกาส, ผู้สูงอายุ, ทุนวัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่มในจังหวัดศรีสะเกษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาบทบาทและศักยภาพของผู้สูงอายุด้านวัฒนธรรมประเพณีและต้นแบบผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบในการพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสของผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และอรรถประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาบทบาทและศักยภาพของผู้สูงอายุด้านวัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพบริบทการพัฒนาศักยภาพและการโอกาสให้กับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ และต้นแบบผู้สูงอายุ และศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาวิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพบริบทโดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุและผู้นำชุมชน จำนวน 60 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) สัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านผู้สูงอายุ จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสของผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ร่างรูปแบบและคู่มือการพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ 2) ประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมชนสี่เผ่าในจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยประเมินด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสมอรรถประโยชน์ และความถูกต้อง 3) ปรับปรุงแก้ไขร่างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบในการพัฒนาศักยภาพและ การสร้างโอกาสของผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยประเมินจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยประเมินด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม อรรถประโยชน์ และความถูกต้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบหลักของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพและ การสร้างโอกาสของผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ในจังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย ด้านทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ด้านการทำงานพัฒนาชุมชน และด้านการมีส่วนร่วมและการอยู่ร่วมกันในสังคม 2) การนำรูปแบบไปใช้กับต้นแบบผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การบรรยาย/การอบรมการสัมภาษณ์/สนทนากลุ่ม การจัดกิจกรรมแสดงบทบาทสมมุติ 3) การประเมินผลของรูปแบบ ได้แก่ ประเมินทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของต้นแบบผู้สูงอายุ ประเมินความสามารถด้านการทำงานพัฒนาชุมชนของต้นแบบผู้สูงอายุ และประเมินการมีส่วนร่วมและการอยู่ร่วมกันในสังคมของต้นแบบผู้สูงอายุ ผลการประเมินรูปแบบพบว่า ด้านความเป็นไปได้ ความเหมาะสม อรรถประโยชน์อยู่ ในระดับมากที่สุด และด้านความถูกต้องแม่นยำอยู่ในระดับมาก
References
กรมการปกครอง. (2563, 10 มกราคม). สถิติผู้สูงอายุ. http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1533055363-125_1.pdf. 2560
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.
ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล, วณิฎา ศิริวรสกุล และชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุ จากภาระให้เป็นพลังกรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. วารสาร Veridian E Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 9(1), 529-545.
ทิวาพร ใจก้อน. (2562). รัฐไทยกับมุมมองเรื่องความแก่ชราและปัญหาผู้สูงอายุใน จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2500-2561. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
เทอดชาย เอี่ยมลำนำ. (2542). ความทันสมัยและพิธีกรรมทางศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ เยอ: กรณีศึกษาหมู่บ้านสำโรงโคเฒ่า จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาภา ศกุนะสิงห์ และจักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. (2558). การนิยามและการแสดงตัวตนของส่วยบ้านเปือยผ่านพิธีกรรมรำแถน. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34. (น. 1518-1528). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บัญญัติ สาลี. (ม.ป.ป.). กูย: ว่าด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และตำนาน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บูรณ์เชน สุขคุ้ม และธนพล วิยาสิงห์. (2556). วัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กูยจังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ภัคพล บุญเหลือง และบุญชู ภูศรี. (2560). ตำนานปรัมปรา: ความสำคัญกับกลุ่มชาติพันธุ์เยอ อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) การสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาครั้งที่ 16 ประจำปีการศึกษา 2559. (น. 369-383). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิชญะ ศรีพิพัฒนกุล. (2557). วรรณยุกต์ภาษาไทยอีสาน จังหวัดศรีสะเกษ ใน 5 ชุมชนภาษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภานันท์ ม่วงสกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังด้วยแนวคิดพฤฒพลัง. วารสารสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 38(2), 93-112.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2563, 1 กุมภาพันธ์). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย.https://www.sac.or.th/ databases/ethnic-groups/.
สำลี รักสุทธี. (2556). ผญา. พ.ศ. พัฒนา.
สุพรรษา อติประเสริฐกุล. (2552). ความเป็นเยอในบริบทพหุวัฒนธรรม: ศึกษากรณีหมู่บ้านใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.