การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ (ภาวนา 4) ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, หลักวิถีพุทธ, ภาวนา 4บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ (ภาวนา 4) และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ (ภาวนา 4) กับคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ (ภาวนา 4) ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนอายุ 60 ปีขึ้นไป ในพื้นที่เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 369 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี 1 คน รองนายกเทศมนตรีเมืองสุพรรณบุรี 2 คน ปลัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 1 คน ผู้อำนวยการกองสวัสดิการและสังคมเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 1 คน ตัวแทนผู้นำชุมชนเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 2 คน และตัวแทนผู้สูงอายุ 2 คน จำนวน 9 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ (ภาวนา 4) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้วิถีพุทธ (ภาวนา 4) กับคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุ ภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักวิถีพุทธ (ภาวนา 4) คือ 3.1) ด้านกายภาวนา คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุต้องร่วมมือกัน ในการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพ ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3.2) ด้านสีลภาวนา คือ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุ และคนในชุมชนได้ร่วมกันทำกิจกรรมทางศาสนา ตามประเพณี วัฒนธรรมและวันสำคัญต่าง ๆ ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชุมชน 3.3) ด้านจิตภาวนา คือ เทศบาลควรกำหนดแผนงานและนโยบายต่าง ๆ ในดูแลผู้สูงอายุอย่างครบถ้วน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วม เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนทุกวัย และ 3.4) ด้านปัญญาภาวนา คือ จัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
References
กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี. (2564, 18 กันยายน). ข่าวประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี. http://www.suphancity.go.th/news1487.html
กระทรวงสาธารณสุข. (2563, 24 เมษายน). รายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. https://apps.hpc.go.th/dl/ web/upFile/2020/08-5014-20200804233 904/65f65e687a364d 6fdd5bca2a68210b93.pdf
กุลวรา พิมใจใส. (2557). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัยส่วนกลาง [วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชลธิชา จิรภัคพงค์ และคณะ. (2561). สุขภาวะพระสงฆ์ : การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.
ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี [งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) (พิมพ์ครั้งที่ 13). มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ภัทราภรณ์ ด้วงเรือง และนัทนิชา หาสุนทรี. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 6(1), 122-134.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงใหม่). บริษัท จูนพับลิซซิ่ง จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
อนุกูล บุญรักษา. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3th ed.). Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.