การพัฒนาสมรรถนะผู้นำเที่ยวท้องถิ่นชุมชนท่องเที่ยวชาติพันธุ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษ ยุควิถีถัดไปตามกรอบพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, ผู้นำเที่ยวท้องถิ่น, ชีวิตวิถีถัดไป, พื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้นำเที่ยวท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะผู้นำเที่ยวท้องถิ่น 3) แนวทาง การพัฒนาสมรรถนะผู้นำเที่ยวท้องถิ่นชุมชนการท่องเที่ยวสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ยุคชีวิตวิถีถัดไปตามกรอบพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย คือ คนในชุมชนท่องเที่ยวชาติพันธุ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษ รวมทั้งหมด 20 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของผู้นำเที่ยวท้องถิ่นชุมชนการท่องเที่ยวชาติพันธุ์สี่เผ่าไท ศรีสะเกษ พบว่า มีประสบการณ์และทักษะยังไม่เพียงพอ ทั้งภาษาในการสื่อสาร ด้านวิชาการ การปฏิบัติหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและการบริการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 2. ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะผู้นำเที่ยวท้องถิ่นชุมชนการท่องเที่ยวชาติพันธุ์สี่เผ่าไทศรีสะเกษ พบว่า มีความต้องการเข้าร่วมการพัฒนาสมรรถนะผู้นำเที่ยวท้องถิ่น ในรูปแบบการอบรมแบบมีส่วนร่วม ทั้งในห้องเรียนและนอกสถานที่ ผู้เข้าร่วมอบรม 15-20 คน เป็นวลา 3 วัน 3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำเที่ยวท้องถิ่นชุมชนการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ สี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประกอบไปด้วย (1) การให้ความรู้ทางด้านวิชาการ (2) ทักษะ การเป็นมัคคุเทศก์ (3) เกณฑ์ด้านความปลอดภัย ความเป็นธรรมและสุขอนามัย ในพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว และ (4) การออกฝึกปฏิบัติการเป็นมัคคุเทศก์นอกพื้นที่
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว พ.ศ. 2562. www.mots.go.th.
กรมการท่องเที่ยว. (2563). โครงการพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว Safety Zone. https://www.thairath.co.th/business/economics/2056537.
กิตติ พัชรวิชญ์. (2545). การฝึกอบรมการศึกษานอกระบบ [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต]. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
กิตต์กวินเดชน์ วงศ์หมั่น. (2564). “รูปแบบการพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนท่องเที่ยวเมืองตาก อำเภอเมือง จังหวัดตาก”, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(พิเศษ), 54-70.
กรุงเทพธุรกิจ. (2563). “ก.ท่องเที่ยวฯ” เปิดรายได้รวมท่องเที่ยวไทย 11 เดือนแรกปี 63 วูบแรง 1.93 ล้านล้านบาท. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/914548.
กุลวดี ละม้ายจีน และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2560). “ศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี”. Life Sciences and Environment Journal, 17(1), 190-199.
กุลวรา สุวรรณพิมล. (2556). หลักการมัคคุเทศก์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). แสงดาว.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2557). หลักการมัคคุเทศก์. เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์. (2562). “แนวทางการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์”. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 15-27.
ปาริฉัตร พงษ์คละ. (2562). “การพัฒนารูปแบบการจัดเลี้ยงวิถีไทยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนภายใต้แนวคิดวัฒนธรรมสี่เผ่า จังหวัดศรีสะเกษ”. วารสารวิชาการ, 13(1), 134-142.
พยอม ยุวะสุต. (2554). การมัคคุเทศก์. http://payomyuvasuta1.blogspot.com
วราภรณ์ ศรีนาราช, มณี จำปาแพง, อภิญญา จิตมโนวรรณ, สุดารัตน์ พญาพรหม, ศุภธิดา นันต๊ะภูมิ, รัตน์ติกุล บัวจันทร์, Paul David และ Robert Tuck. (2560). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชุมชน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย”. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(พิเศษ), 66-78.
วิโรจน์ ลักขณาอดิสร. (2550). การเรียนรู้โดยหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. www.se-edlearning.com
วัฏจักร จันทะภักดิ์. (2557). จังหวัดศรีสะเกษ. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
วันวิสาข์ หมื่นจง. (2560). ปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการเป็นมัคคุเทศก์ของผู้ให้บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์. http://gnru2017.psru.ac.th/proceeding/273-2560083 0125920.pdf.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2565). Digital Transformation จาก New Normal สู่ Next Normal. https://www.depa.or.th/th/article-view/digital-transformation-new-normal-next-normal
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). แนวโน้มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยปี 2562. https://kasikornbank.com
ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว. (2563). คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว. https://www.tatreviewmagazine.com/article/คาดการณ์แนวโน้มสถานการ/
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2561- 2565 และเกณฑ์คัดเลือก 303 ชุมชน. https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/secretary/news_view.p hp?nid=1481
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.