การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสับปะรด ตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • วิภวานี เผือกบัวขาว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • รุ่งกานต์ กล้าหาญ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กฤษณ์ ไชยวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วนิดา มากศิริ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ช่วงชัย ชุปวา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การแปรรูปสับปะรด, ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน, เศรษฐกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการแปรรูปสับปะรด ตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการแปรรูปสับปะรดเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนในตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดชุมชนตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 388 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ประธาน กรรมการ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสับปะรดในตำบลวังก์พง และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำพื้นที่ตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 9 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเขียนข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสับปะรด ตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า โดยรวมมีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีศักยภาพอยู่ในลำดับแรก ได้แก่ ด้านการบริหารสมาชิกวิสาหกิจชุมชน รองลงมาคือ ด้านผู้นำและการบริหารวิสาหกิจชุมชน ด้านการวางแผน การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ด้านผลลัพธ์การดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ด้านการจัดการความรู้และข้อมูล ด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ และด้านการบริหารตลาด ตามลำดับ และ 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากการแปรรูปสับปะรดเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนในตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ชุมชนสามารถที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสับปะรดเพิ่มเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เหลือทิ้งจากสับปะรดมาสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนได้ คือ “พัฒนาผลิตภัณฑ์โบรมีเลนจากเปลือก จุก และเหง้าสับปะรดในการทำให้เนื้อนุ่ม”

References

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

เจณิภา คงอิ่ม. (2561). การดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนนทบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 156-170.

ถาวร ชูพูล และคณะ. (2552). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบึงหลุมบัว ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. สำนักงานเกษตรอำเภอองครักษ์ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครนายก.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2558). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระครูรัตนากรวิสุทธิ์, พระมหาบุญรอด อมรทตฺโต, พระครูปริยัติสุวัฒนาภรณ์, พระครูสังฆวิสุทธิคุณ และสุเทพ เชื้อสมุทร. (2561). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปโดยการร่วมมือของบริษัทเอกชนในจังหวัดระยอง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการจังหวัดระยอง.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564, 1 มิถุนายน). รายงานสรุปประเภทกิจการวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จำแนกตามพื้นที่. http://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php?report_id=17.

สมชาย เพชรเก่า, กัญญา กำศิริพิมาน และกาญจนา เกียรติมณีรัตน์. (2561). การส่งเสริมศักยภาพด้านการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสับปะรดบ้านห้วยหลวงพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 12(2), 126-138.

สันติ ช่างเจรจา และคณะ. (ม.ป.ป.). กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

สุนทรีย์ วิพัฒครุฑ, อุษณี จิตติมณี, เพ็ญนภา จุมพลพงษ์ และเสาวพร สุขเกิด. (2563). การพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน โดยการสร้างอาชีพเสริมในพื้นที่บ้านเพนียด ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. พิฆเนศวร์สาร, 16(1), 137-150.

เสรี พงศ์พิศ. (2557). คู่มือการทำวิสาหกิจชุมชน. เจริญวิทย์การพิมพ์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางการดำเนินงานการสร้างตำนานผลิตภัณฑ์ Story of Product). เอ ที เอ็ม โปรดักชั่น.

องค์การบริหารส่วนตำบลวังก์พง. (2564, 3 มิถุนายน). ข้อมูล อบต. https://www.wangpong.go.th/general1.php.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). Harper Collins.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3th ed.). Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

เผือกบัวขาว ว. ., กล้าหาญ ร. ., ไชยวงศ์ ก. ., มากศิริ ว. ., & ชุปวา ช. . (2022). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสับปะรด ตำบลวังก์พง อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(2), 42–62. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1253