คุณลักษณะและคุณภาพในการรับรู้เพลงพื้นเมืองเสฉวน

ผู้แต่ง

  • เซียว จิ้ง หลิน คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

เพลงพื้นเมืองเสฉวน, คุณลักษณะทางศิลปะ, คุณภาพในการรับรู้, วิธีสอน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของเพลงพื้นเมืองเสฉวน 2. เพื่อศึกษาคุณภาพในการรับรู้เพลงพื้นเมืองเสฉวน 3. เพื่อสำรวจวิธีสอนดนตรีแบบตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับเพลงพื้นเมืองเสฉวน วิธีดำเนินการวิจัยคือการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาภาคสนามและการศึกษาเอกสาร สถานที่วิจัยคืออาณาเขตบาสชูเดิมในบริเวณแม่น้ำแยงซีตอนบน มณฑลเสฉวน เครื่องวิจัยได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของดนตรีเสฉวนแสดงออกใน 3 ลักษณะ คือ ท่วงทำนอง พื้นผิว และภาษา ท่วงทำนองที่ใช้เป็นแบบหยูซึ่งประกอบด้วยโน้ตหลัก 3 ตัว ใน 4 รูปแบบ คือ ลา-โด-มี ลา-มี-โด มี-โด-ลา และ มี-ลา-โด พื้นผิวของบทเพลง เป็นแบบทำนองเดียว ถ้อยคำมีผลต่อจังหวะดนตรี เสียงในภาษามีผลต่อกลุ่มเสียงและท่วงทำนองเพลง ลีลาของภาษามีผลต่อลีลาทางดนตรี ระดับเสียงของภาษาจีนส่งผล ต่อเสียงดนตรีและการเลื่อนไหลของศิลปะวัฒนธรรมทางดนตรีจีน 2. คุณภาพการรับรู้เพลงพื้นเมืองเสฉวนขึ้นอยู่กับกับความสามารถส่วนบุคคล ในการรับรู้ความรู้สึก ความจริง ธรรมชาติของความงามวิถีชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งแต่ละคนอาจจะเข้าใจถึงอารมณ์ที่แสดงออกในเพลงเสฉวน เช่นเดียวกับความข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3. การสอนดนตรีแบบตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับเพลงพื้นเมืองเสฉวนมี 3 แบบ คือ แบบดาลโครซ ที่อธิบายว่าร่างกายเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงอารมณ์และความนึกคิดทางดนตรีของมนุษย์แบบกอร์ดอนที่เน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง “การฟังกับความคิด” ซึ่งแยกออกเป็น “การฟังกับการได้ยิน” กล่าวคือความรู้สึกในการได้ยินกับการได้ยินเมื่อฟังอย่างตั้งใจ แบบโคดายที่เน้นเรื่องความคิดเกี่ยวกับภาษาแม่โดยแนะนำให้ใช้สอนดนตรีโดยคล้อยตามวัฒนธรรมตามธรรมชาติของผู้เรียน

References

Bauguess, D. (1985). Sight singing course. Jenson Publications.

Darazs, A. (1964). Comprehensive Sight-singing and Ear-training: Based on the Method of Zoltan Kodaly (Second and Concluding Part). The Choral Journal, 5(1), 14-17.

General Introduction of the Collection of Chinese Scale Spectrograph. (2017). Culture and Art Publishing House.

Gordon, E. E. (1980). Study guide for Learning sequences in music. GIA Publications.

Gordon, E. E. (2000). Rhythm Contrasting the implications of audiation and notation. GIA Publications.

Hui, G. (2007). Establishing a broad concept of solfeggio teaching - Reflection on the national, cultural, and social problems in solfeggio teaching.

Liya, F. (2007). On the Method of Solfeggio and Ear Training of Chinese Nationalities. Shanghai Music Publishing.

Pei, L. (2017). An Important Topic in Music Education - Contemporary Theory and Practice. Central Conservatory of Music Press.

Yaxian, C. (2006). On solfeggio teaching. Shanghai music publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

หลิน เ. จ., & หิรัญรักษ์ ศ. (2022). คุณลักษณะและคุณภาพในการรับรู้เพลงพื้นเมืองเสฉวน. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(2), 217–234. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1259