แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ภักดิ์ศรีแพง คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวแบบส่งเสริมสุขภาพ, คุณภาพการบริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการให้บริการห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาคุณภาพการบริการของห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของห้องปฏิบัติการสปาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายคือลูกค้าที่ใช้บริการห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 แห่ง จำนวน 50 คน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบจัดหมวดหมู่เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการให้บริการของห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีห้องปฏิบัติการสปาที่ให้บริการจำนวนมากที่สามารถรองรับจำนวนผู้มาใช้บริการ ตั้งแต่ 5-10 คน 2) การประเมินคุณภาพการให้บริการของห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การประเมินคุณภาพการบริการห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ด้านความเข้าอกเข้าใจ ด้านการประกันคุณภาพ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการ ของห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 1) ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการของห้องปฏิบัติการ สปาควรมีช่องทางการติดต่อที่หลากหลายมากขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการสปา ควรทำความสะอาดให้ใหม่และทันสมัย พนักงานของห้องปฏิบัติการ สปาควรมี ชุดเครื่องแบบที่สวยงามเป็นมาตรฐานเดียวกัน 2) ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ห้องปฏิบัติการสปาควรเป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจสปาไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการ และมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีมาตรฐานเดียวกันในการให้บริการอย่างมืออาชีพ 3) ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า พนักงานห้องปฏิบัติการสปาควรสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า และให้บริการแก่ลูกค้าโดยไม่ต้องร้องขอ และให้ได้รับ ความสะดวกสบายอย่างเท่าเทียมกัน 4) ด้านการประกันคุณภาพ พนักงานห้องปฏิบัติการ สปาควรมีความรู้ด้านภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารลูกค้าต่างชาติได้ และจะต้องสามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ 5) ด้านความเข้าอกเข้าใจ พนักงานห้องปฏิบัติการสปา ควรสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าที่แตกต่างกันเพื่อให้บริการที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับลูกค้าอย่างเท่าเทียมกัน

Author Biographies

จุฬารัตน์ ภักดิ์ศรีแพง, คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ, คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560–2564). https://www.mots.go.th

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2552). ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. http://thai.tourismthailand.org/สถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรม/ประเภทกิจกรรมท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ.

กฤษติญา มูลศรี รัตนา สีดี และธิตินันธุ์ ชาญโกศล. (2559). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมประเภท 3 ดาวในประเทศไทย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มประชาคมอาเซียน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 12(1), 19-31.

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2559). การพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

ภักดิ์ศรีแพง จ. ., & จินดาประเสริฐ ก. (2022). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการห้องปฏิบัติการสปา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(2), 143–157. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1268