การวิเคราะห์ภาพสะท้อนที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์

ผู้แต่ง

  • หทัยวรรณ มณีวงษ์ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นภัสวรรณ อาชุมไชย สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ธีรภัทร์ ขอเยือกกลาง สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

นวนิยายเรื่องปีศาจ, ภาพสะท้อนด้านเศรษฐกิจ ภาพสะท้อนด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ, ภาพสะท้อนด้านการศึกษา, ภาพสะท้อนด้านค่านิยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนที่ปรากฏในนวนิยาย เรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร และเนื้อหาของนวนิยาย ผลการวิจัยพบว่า นวนิยายเรื่อง ปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ พบภาพสะท้อน 4 ด้าน ดังนี้ 1. ภาพสะท้อนด้านเศรษฐกิจ พบว่า ในเรื่องมีการกล่าวถึง การประกอบอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นชาวนาซึ่งเป็นอาชีพของคนในสังคมส่วนใหญ่ถูกกดขี่ จากชนชั้นนายทุน ในขณะเดียวกันชนชั้นกลางบางกลุ่ม ได้แสวงหาผลประโยชน์ทางการเงิน จากอาชีพของตน โดยไม่คำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นการประกอบอาชีพที่อิสระไม่จำกัดทางเพศในยุคสมัยใหม่ รวมถึงปัญหาความยากจนที่ทำให้บางคน ต้องทำงานแบบทุจริตเพื่อให้ตนเองสุขสบาย 2. ภาพสะท้อนด้านวัฒนธรรม พบว่า นวนิยายเรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ มีแนวคิดเพื่อชีวิตที่เน้นสภาพความเป็นจริงทางสังคม โดยความเชื่อที่ปรากฏในเรื่องมีเพียงความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม 3. ภาพสะท้อน ด้านการศึกษา พบว่า ในเรื่องปรากฏความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีทั้งความเหลื่อมล้ำ ทางเพศโดยให้ความสำคัญกับการศึกษาของผู้หญิงน้อย และความเหลื่อมล้ำทางฐานะ ที่ทำให้โอกาสทางการศึกษาของคนไม่เท่ากัน และ 4. ภาพสะท้อนค่านิยม ได้แก่ ประเด็นการหาคู่ครองที่สังคมสมัยใหม่มีความคิดในการเลือกคู่ครองที่เหมาะสมกับตนเอง ทำให้ คนในสังคมสมัยใหม่มีคู่ครองได้ยากขึ้น แต่ยังปรากฏบางส่วนที่ยังถูกคลุมถุงชนจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นความคิดของคนสมัยเก่าที่ต้องการรักษาเกียรติของตระกูล ประเด็นการครองเรือน พบว่า ผู้หญิงจะต้องปฏิบัติตนเป็นภรรยาที่ดี และซื่อสัตย์ต่อสามี ประเด็นการแบ่งชนชั้น มีการเลือกคบคนทางชนชั้น โดยชนชั้นสูงจะคบกับคนที่อยู่ชนชั้นเดียวกันเพื่อรักษาเกียรติให้กับตระกูล ประเด็นค่านิยมด้านวัตถุ พบว่าในสังคมยังมีการยึดติดกับรูปลักษณ์ หรือสิ่งของเพื่อสร้างความดูดีแก่ตนเอง นอกจากนี้ยังมีประเด็นความกตัญญู ที่ได้สะท้อนมุมมองในเรื่องของความกตัญญูต่อผู้ให้กำเนิด และประเด็นการรักบ้านเกิดเมืองนอน ที่ได้สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความรักบ้านเกิดเมืองนอนของตน เพราะนอกจากจะเป็นที่ ที่ตนเกิดมา ยังเป็นพื้นที่ใช้ทำมาหากินอีกด้วย

References

ชิตชยางค์ ยมาภัย. (2560). ชีวิตชาวนาในสังคมร่วมสมัย: ชีวิตที่ถูกลดทอนความเป็นมนุษย์. มหาวิทยาลัยรังสิต.

ตนุภัทร โลหะพงศธร. (2563, 30 ตุลาคม). ตายสิบจะเกิดแสน แด่ ‘ปีศาจ’ ผู้ไม่มีวันตาย จากวรรณกรรมอมตะของเสนีย์ เสาวพงศ์. https://becommon.co/culture/pisat-seni-saowaphong/.

ธงชัย สมบูรณ์. (2564, 26 มิถุนายน). เงิน อำนาจ และการดำรงอยู่.http://www.edu.ru.ac.th/index.php/8-edu-information/275-2014-07-04-10-46-45

ธร ปีติดล. (2561). ‘ปีศาจ’ ความเหลื่อมล้ำ และกาลเวลา. มติชน.

ธัมนวรรณ ขอสวัสดิ์. (2562). แนวทางการประยุกต์หลักการครองเรือนของนางวิสาขาที่นำมาใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

นณริฏ พิศลยบุตร. (2559, 25 พฤษภาคม). ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย: อีกหนึ่งปัญหาด้านการศึกษาที่ภาครัฐควรใส่ใจ. https://shorturl.asia/dIlcL.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2548, 26 กรกฎาคม). ปีศาจของกาลเวลา : การรื้อฟื้นงานเสนีย์ เสาวพงศ์ในยุคแสวงหา. https://prachatai.com/journal/2005/07/21258.

พัทยา สายหู. (2522). ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์.

พิจิตร พงษ์เกษ. (2563). รูปแบบการครองเรือนที่พึ่งประสงค์ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์. (2564, 16 มิถุนายน). ไขรหัสความเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย เหตุใดความช่วยเหลือไปไม่ถึงเด็ก. https://shorturl.asia/SgxoW.

มณฑา วิริยางกูร และสิริวรรณ นันทจันทูล. (2563). ภาพสะท้อนสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของทมยันตี. คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ลำไย สมอ่อน. (2541). ทัศนะทางสังคมของนักเขียนไทยจากเรื่องสั้นในวารสารสยามรัฐสัปดาห์ วิจารณ์ช่วงครึ่งทศวรรษ (พ.ศ. 2535-2539) [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วีระ หวังสัจจะโชค. (2563). แรงงานภาคเกษตรเป็นแรงงานเสี่ยงหรือไม่? การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตทางสังคมของชาวนาไทยและเวียดนาม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

วุฒินันท์ ชัยศรี. (2564). วรรณกรรมไทยก่อนและหลังได้รับอิทธิพลตะวันตก. https://elearning7.nrru.ac.th/course/view.php?id=899

สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 4). เอส.อาร์. พริ้นติ้ง.

สาโรช บัวศรี. (2512). พุทธศาสนากับการศึกษาแผนใหม่. คุรุสภา.

สำนักงานสถิติและดิจิตอลแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562, 25 มีนาคม). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร. https://shorturl.asia/T37OS

สุพิศ เอื้องแซะ. (2560). ภาพสะท้อนสังคมและกลวิธีการนําเสนอเรื่องสั้นในนิตยสาร“คู่สร้างคู่สม”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสนีย์ เสาวพงศ์. (2564). ปีศาจ (พิมพ์ครั้งที่ 7). มติชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

มณีวงษ์ ห. ., อาชุมไชย น., & ขอเยือกกลาง ธ. (2022). การวิเคราะห์ภาพสะท้อนที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(2), 158–176. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1270