ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ภูริส ภูมิประเทศ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ตรีชฎา สุขเกษม สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อภิชาติ แสงอัมพร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ภทพร ศรีโกตะเพขร เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป สำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้นำ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำ
การเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 384 คน เป็นการวิจัย
เชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t–test) ค่าเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของ Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยพบว่า

  1. บุคลากรมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ อยู่ในระดับมาก
  2. บุคลากรที่มีเพศและสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์
    ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การปฏิบัติงานที่ต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
  3. ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21 คือ 1) ควรมีคุณธรรมจริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และมีความเอื้อเฟื้อเสียสละ
    เพื่อประโยชน์ขององค์กร 2) ควรเป็นผู้นำมืออาชีพที่มีความรู้ความสามารถ มีวิสัยทัศน์
    มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความเป็นประชาธิปไตย 3) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้ารับการอบรม ประชุมสัมมนา และ 4) ควรมีความเข้าใจในความแตกต่างของบุคลากรในองค์กร

References

กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. (2565). ข้อมูลบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2564, 19 มีนาคม). รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.- อปท.) ประจำปี พ.ศ. 2563. http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/.

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4931- 4943.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549). จิตวิทยาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุตินันท์ แดงสกล. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชุตินันท์ มุ่งการนา และคณะ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของเทศบาลนคร : การวิเคราะห์เส้นทาง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 1-22.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ, บุญทัน ดอกไธสง และนัยนา เกิดวิชัย (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5642-5658.

นฤมล โยคานุกล. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. [สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นัฎฐกานต์ ทันที. (2555). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. [การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 183-196.

ปาณิสรา ตรัสศรี. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. [ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน), พระครูโสภณธรรมโชติ และสลารีวรรณ ทัพทวี. (2564). การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(3), 84 -99.

พิมพ์นิภา อินทพัฒน์. (2559). ความคิดเห็นของบุคลากรท้องถิ่นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่นในอำเภอย่านตาขาวจังหวัดตรัง. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รสสุคนธ์ รัตนเสริมพงศ์. (2556) แนวคิดและหลักการบริหารท้องถิ่น. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารท้องถิ่นหน่วยที่ 1-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ก ตอนที่ 40 หน้า 8.

วิไล วัชฤทธิ์ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561 หัวข้อมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2558). 9 กฎเหล็กสำหรับการบริหารจัดการที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์, 11(1), 5-27.

สนุก สิงห์มาตร, พิกุล มีมานะ และ ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์. (2560). คุณลักษณะภาวะผู้นําของผู้บริหารองค์กรในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2557). เมนูคอร์รัปชันและการแสวงหาผลประโยชน์. Way of Book.

สมบัติ บุญเลี้ยง, อารีย์ นัยพินิจ และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2555). ลักษณะภาวะของผู้นำที่ดีในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 29(2), 97-112.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์. (2565). รายงานผลการปฏิบัติราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์.

สุปัญญดา สุนทรนนธ์, บุญอนันต์ พินัยทรัพย์ และจินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์. (2558). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(2), 133-146.

สุรัตน์ ดวงชามทม. (2565, 25 สิงหาคม). บัญญัติ 10 ประการ สู่การเป็นนักบริหารมืออาชีพ. https://jeal.snru.ac.th/Files/Article/401

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ และ นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 183-198.

Mohsen, A. and Mohammad, R.D. (2011). Considering transformational leadership model in branches of Tehran Social Security Organization. Social and Behavioral Sciences, 15(1), 3131-3137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

ภูมิประเทศ ภ. ., สุขเกษม ต. ., แสงอัมพร อ. ., & ศรีโกตะเพขร ภ. . (2023). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุรินทร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 7(1), 124–144. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1676