ปัจจัยทางสังคม-วัฒนธรรมที่มีผลต่อการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การเลือกตั้งท้องถิ่น, ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม, การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านสังคม วัฒนธรรม กับการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในทุกอำเภอของจังหวัดศรีสะเกษ โดยสุ่มตัวอย่างแบบโควตากำหนดกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง แบ่งเป็นเพศชาย 200 คน
เพศหญิง 200 คน โดยใช้เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุ 45 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน (50.00 %) ระดับการศึกษา การศึกษาภาคบังคับ 175 คน (43.75%) อาชีพเกษตรกรรม 40 คน (35.00%) และมีความเป็นพลเมืองท้องถิ่นสถานภาพโดยการเกิด
ในพื้นที่เขตเลือกตั้งจำนวน 280 คน (70.00%)
ด้านปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม ที่มีผลต่อการเมืองท้องถิ่น ได้ตอบแบบสอบถามค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน คือ ให้ความสำคัญตัวผู้สมัครค่าเฉลี่ย ( = 4.53) รองลงมา การให้ความสัมพันธ์ท้องถิ่น-เครือญาติ ค่าเฉลี่ย (
= 4.52) และให้ความสำคัญ
กลุ่มการเมืองท้องถิ่นค่าเฉลี่ย ( = 4.51) และต่ำสุด คือ ให้ความสำคัญเครือข่ายนักการเมืองระดับชาติ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย (
= 3.45) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อการเมืองท้องถิ่นของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่าปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม มีผลต่อการเมืองท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมุติฐาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสำคัญตัวผู้บุคคลความสำคัญกลุ่มการเมืองท้องถิ่นการให้ความสำคัญวิสัยทัศน์/แนวนโยบาย การนำเสนอวิสัยทัศน์แนวนโยบาย การใช้ความสัมพันธ์ ท้องถิ่น เครือญาติ มีความสัมพันธ์ทางบวกการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ยกเว้นด้านให้ความสำคัญเครือข่ายนักการเมืองระดับชาติ ไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นแต่อย่างใด
References
โกวิทย์ พวงงาม และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2547). มิติใหม่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : ผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน. เสมาธรรม.
นงค์รักษ์ ต้นเคน. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการลงคะแนนเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม [รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ธนวัฒน์ รัศมี และวิไลลักษณ์ เรืองสม. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง [สาขารัฐประศาสนศาสตร์]. มหาวิทยาราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ไพบูล เติมสมเกตุ และคณะ. (2553). คุณลักษณะและบทบาทของนายกเทศมนตรีที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาเทศบาลนครเชียงรายอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย [สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง]. มหาวิทยาลัยเกริก.
เศรษฐพร หนุนชู, กิติคุณ ด้วงสงค์ และพระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สุทุธจิตฺโต. (2560). การเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสาร มจร. อุบลปริทัศน์, 2(2), 109-122.
อังศุพร บิลหมัน. (2561). การตัดสินใจเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาล เมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศิวิไลซ์ นัมคณิสรณ์. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเสียง เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Cohen, C. J. & Kahne, J. (2012). Participatory politics. New media and youth political action. Chicago, IL: MacArthur Foundation.
Flanagan, C. & Levine, P. (2010). Civic engagement and the transition to adulthood. The Future of Children, 20(1), 159-179.
Terriquez, V. (2017). Legal status, civic associations, and political participation among Latino young adults. Sociological Quarterly, 58(2), 1-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.