การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวคิดรูปแบบการสอนภาษาจีน แบบผสมผสาน TESSE

ผู้แต่ง

  • พงศธร กิตตโชติวรกุล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ชีเยวียน ถัง มหาวิทยาลัยกว่างซี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเรียนรู้, กิจกรรมเสริมหลักสูตรภาษาจีน, รูปแบบการสอนภาษาจีนแบบผสมผสาน TESSE

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตรภาษาจีนตามแนวคิดรูปแบบการสอนภาษาจีนแบบผสมผสาน TESSE 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนปฐมวัยกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับปฐมวัยชั้นปีที่ 3/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนตันตรารักษ์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 24 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ คู่มือการใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรภาษาจีน ตามแนวคิดรูปแบบการสอนภาษาจีน แบบผสมผสาน TESSE แผนการจัดประสบการณ์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติt-test แบบ one sample

            ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนในทุกขั้นตอนตามแนวคิดรูปแบบการสอนภาษาจีนแบบผสมผสานTESSEมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับปกติแต่พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านมุ่งเป้าหมายของขั้นลงมือทำ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม 2) ค่าเฉลี่ยรวมของพฤติกรรมการเรียนรู้ สูงกว่าค่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (2.1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กานต์รวี บุษยานนท์. (2559). รูปแบบการสอนที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของสมอง (Brain Targeted Model)กับการพัฒนาสมองและการเรียนรู้. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 160-176.

นฤมล เนียมหอม. (2556). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ปฐมวัย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทา โพธิ์คำ. (2563). ทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 9(2), 707-721.

ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2559). แลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดทักษะวินัยเชิงบวกและทักษะสมองEF. ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ SCB Academy.

พัฒนา ชัชพงศ์. (2530). การจัดประสบการณ์และกิจกรรมระดับปฐมวัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

ราศี ทองสวัสดิ์ และคณะ. (2529). ชุดเอกสารอบรมหน่วยที่ 6 การจัดประสบการณ์ชั้นเด็กเล็กและการศึกษาดูงาน. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อริสา โสคำภา. (2551). พฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่านิทานอิสปประกอบการใช้สถานการณ์จำลอง [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

Dawson, P. & Guare, R. (2009). Smart But Scattered: The Revolutionary "Executive Skills" Approach to Helping Kids Reach Their Potential. The Guildford Press.

Gronlund, N. E. (1959). Sociometry in the classroom. Harper&Brothers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

กิตตโชติวรกุล พ. ., & ถัง ช. (2023). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวคิดรูปแบบการสอนภาษาจีน แบบผสมผสาน TESSE. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 7(2), 122–140. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1857