การพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พรมนัส เอ็นน้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, คุณภาพการให้บริการ, กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางไทร และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางไทร วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน
คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางไทร กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มาติดต่อขอรับบริการในเขตเทศบาลตำบล
บางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 385 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์
ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบแอลเอสดี และขั้นตอนที่ 2 คือ ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ รองนายกเทศมนตรีตำบลบางไทร ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลบางไทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความมั่นใจได้ และ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ควรให้บริการไปตามระยะเวลาที่กำหนด ควรเพิ่มช่องทางการให้บริการให้รวดเร็ว
ควรมีความพร้อมในการบริการอยู่ ควรมีความเอาใจใส่ กระตือรือร้น ควรให้ความรู้
ความเข้าใจพร้อมทั้งให้บริการตรงตามความต้องการ ควรให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
แก่ผู้รับบริการ ควรตระหนักถึงผลประโยชน์เพื่อประโยชน์สูงสุด ควรช่วยเหลือและ
ให้ความรู้และความเข้าใจ กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้ชัดเจน 

References

คณิสร แก้วคำ, กนกวรรณ แสนเมือง และชัชวาล แสงทองล้วน. (2562). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 1(1), 25-36.

เทศบาลตำบลบางไทร. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี พ.ศ.2566 – 2570 เทศบาลตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เทศบาลตำบลบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

นรีรัตน์ วงศ์วิทยานันท์. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการของเทศบาลเมืองปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วิรินิส คิ้วไธสง (2562). การศึกษาคุณภาพการให้บริการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น กรณีศึกษาสำนักงานเทศบาลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริวรรณ จุลแก้ว, โศภิน สุดสะอาด และชัชฎาภรณ์ บุญชูวงษ์. (2556). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 6(2), 61-68.

สงกรานต์ กาญจนดิษฐ์ และโสภา มุขมณเฑียร. (2565). คุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 9(1), 102-111.

สุทิน นพเกตุ. (2562). คุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลวัดสิงห์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(1), 149-158.

สุธรรม เลิศพงษ์ประเสริฐ และธนชาติ ประทุมสวัสดิ์. (2564). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(4), 85-97.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

เอ็นน้อย พ., & อนุสนธิ์พัฒน์ น. . (2023). การพัฒนาคุณภาพการให้บริการของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบางไทร อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 7(2), 101–121. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1916