แนวทางการจัดการความรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา ข้อเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • นฤมล อนุสนธิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, องค์การบริหารส่วนตำบล, แนวทางการจัดการความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการความรู้ และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการความรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่รวบรวมข้อมูลจากบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน จำนวน 53 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือก
แบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการความรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบ่งชี้ความรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ และ 2) แนวทางการจัดการความรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน ได้แก่ (1) บ่งชี้ความรู้ ที่สอดคล้องกับนโยบายผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ โดยเปิดโอกาสให้บุคลากร ประชาชน หรือ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำเสนอแนวคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน (2) สร้างและแสวงหาความรู้ โดยส่งบุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรม สัมมนา ควบคู่กับการจัดเวทีประชาคม การประชุม และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับหน่วยงานภายนอก (3) จัดเก็บให้เป็นระบบ โดยการจัดทำสารบัญความรู้และพัฒนาระบบสารสนเทศ
เพื่อจัดเก็บ (4) ประมวลและกลั่นกรองโดยทีมงานหลัก ด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
ทันเหตุการณ์ และใช้ระบบสารสนเทศอำนวยความสะดวก (5) เข้าถึงความรู้ โดยใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อให้ผู้รับได้เข้าถึงความรู้อย่างทั่วถึง (6) แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ให้มีการทำงานเป็นทีม มีระบบพี่เลี้ยงสอนงาน เน้นสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และเผยแพร่ความรู้ลงฐานข้อมูลออนไลน์ และ (7) เรียนรู้ เพื่อนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงาน แก้ไขปัญหาเพื่อให้บรรลุภารกิจขององค์กร และเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆจนเกิดเป็นนวัตกรรม

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2558). ตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้สู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 21(2), 133-145.

จุฑามาศ อินตรา. (2564). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการในหน่วยงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 11(2), 275-286.

บดินทร์ วิจารณ์. (2551). ชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์การตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้. วิชั่น แอนด์ พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.

เปรมศิริ ตวงโชคดี และสำเริง อ่อนสัมพันธ์. (2562). การจัดการความรู้ของโรงเรียนบ้านหนองใหญ่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 1044-1055.

พระสอนสิน ปัญญาวโร. (2563). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 57-67.

มณีกานต์ ดวงแก้ว และสุขุมวิทย์ ไสยโสภณ. (2564). การจัดการความรู้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 171-190.

ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว, พรพนา ศรีสถานนท์, จิรเดช ทังสุบุตร, กฤตภัตร บุญญรัตน์ และอัครกฤษ นุ่นจันทร์. (2565). การจัดการความรู้ขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 353-370.

สาวิตรี สกลเศรษฐ. (2561). การจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2548). เอกสารคู่มือและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี : การบริหารจัดการความรู้. ก. พลพิมพ์ (1996).

สุภารัตน์ ฤกษ์อรุณทอง และกุลพัทธ์กุลชาติดิลก. (2557). รูปแบบกระบวนการจัดการความรู้ของสถาบันศึกษาระดับอุดมศึกษา. สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

สุมาลี บุญเรือง และศราวุธ สังข์วรรณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 225-237.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน. (2565). แผนอัตรากำลัง 3 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564–2566 ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน. (2565). แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน.

อภิญญา ขอพรกลาง, แววตา เตชาทวีวรรณ และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการความรู้ของสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารบรรณศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 14-29.

ไอลดา สุขสี. (2563). แนวทางการจัดการความรู้ในโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 15 (บ้านม่วงเฒ่า)[ค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

ข้อเพชร เ., & อนุสนธิพัฒน์ น. (2023). แนวทางการจัดการความรู้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 7(2), 79–100. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/jhuso/article/view/1929