การพัฒนานวัตกรรมการตลาด เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจชุมชน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, นวัตกรรมการตลาด, ธุรกิจชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานวัตกรรมการตลาดและความยั่งยืนของธุรกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมการตลาดที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจชุมชน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการตลาด เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจชุมชนในเขตอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ การศึกษาแบบผสมผสานเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 180 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่านวัตกรรมการตลาดของธุรกิจชุมชนและความยั่งยืนของธุรกิจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการมุ่งเน้นที่ตัวลูกค้ามีค่าเฉลี่ยมากสุด และนวัตกรรมการตลาดของธุรกิจชุมชนที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก โดยนวัตกรรมการตลาดด้านคุณค่าเฉพาะตัว ด้านการมุ่งตลาดเฉพาะกลุ่ม และด้านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมการตลาด เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจชุมชนควรสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่สอคล้องกับยุคสมัยและสื่อสารให้หลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ควรมีตราสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ในการสร้างความจดจำและคุณค่าในตัวสินค้า ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายรูปแบบและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า ควรออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ควรเพิ่มช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายช่องทางและทำการตลาดในรูปแบบใหม่ตามยุคสมัยในการเข้าถึงลูกค้าในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางการค้า การขยายฐานลูกค้าและการสร้างรายได้ อันนำไปสู่ความยั่งยืนของธุรกิจชุมชน
References
กฤษติญา มูลศรี. (2562). นวัตกรรมและการตลาดดิจิทัลที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย. วารสาร MFU Connexion, 8(2), 32-60.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). รายงานการวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. งบประมาณภายใน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จันทิมา พรหมเกษ, จักเรศ เมตตะธำรงค์ และวรรณิดา สารีคำ. (2562). ผลกระทบของศักยภาพผู้ประกอบการสมัยใหม่และนวัตกรรมการตลาดที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสาร Suranaree J. Soc. Sci, 13(2), 79-96.
ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี, ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์ และนิชชิญา นราฐปนนท์. (2560). การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 1(1), 43-50.
ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรื่องสกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2563). นวัตกรรมการตลาดสู่การขับเคลื่อนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(1), 1-13.
บุรณิน รัตนสมบัติ. (2557). การพัฒนาต้นแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่ [วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญสม ลีชยากิตติกร. (2558). รายงานการวิจัยนวัตกรรมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร [วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยพงษ์ สัจจาพิทักษ์. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีต่อความไว้วางใจของผู้บริโภคในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าโอทอป [วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิสิฐ ลี้อาธรรม, ศศิเพ็ญ พวงสายใจ, สุขุม พันธุ์ณรงค์ และพิมลพรรณ บุญเสนา. (2559). การประเมินความยั่งยืนกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชน. Journal of Economics, 20(1), 1-43.
นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และทำนอง ชิดชอบ. (2565). แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน กรณีศึกษา : ธุรกิจชุมชน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 84-92.
มาลินี คำเครือ และธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 1-8.
วัลย์ลดา พรมเวียง. (2561). รายงานการวิจัยการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านคลองทรายใน ICT 418 KL YALA. งบประมาณภายใน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิไลวรรณ ศรีอักษร. (2557). นวัตกรรมกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างยั่งยืน. http://journal.rbac.ac.th/wp-content/uploads /2019/09/57-8_2p98-109.pdf.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์โดยมุ่งเน้นที่ตลาด. ธนธัชการพิมพ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2562). หลักการตลาด. ธรรมสาร.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2557). กระบวนการสร้างคุณค่าร่วมกัน : กระบวนทัศน์ตลาดใหม่ในยุคสังคมออนไลน์. วารสารสงขลานครินทร์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 20(3), 161-185.
ศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในเขตจตุจักรเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(1), 69-81.
เอกณัฏฐ์ เธียรเศรษฐกุล. (2560). หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์. https://imdesign-studio.com/5
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.