การศึกษาสารสนเทศท้องถิ่นอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
สารสนเทศท้องถิ่น, บึงบูรพ์, ศรีสะเกษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสารสนเทศท้องถิ่น อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเกษตรกรรม ชาวบ้าน ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมถึงร้อยละ 80 ชุมชนส่วนใหญ่ผูกพันกับอาชีพทำไร่ ทำนา เพาะปลูก 2) ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย คือ ข้าวและปลาส้ม 3) ด้านแพทย์แผนไทย ความเชื่อในการรักษาโรคที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนยังคงอนุรักษ์ไว้ เช่น การเป่าเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ 4) ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านคติความเชื่อแล้วประยุกต์ออกมาสู่การพัฒนาชีวิต การหาของป่าจากป่าดงใหญ่ การจับสัตว์น้ำจากลำน้ำห้วยทับทัน 5) ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ชุนชุนบึงบูรพ์ได้รับเงินกองทุนหมู่บ้านจากสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อนำมาพัฒนาชุมชน 6) ด้านศิลปกรรม ชุมชนบึงบูรพ์มีงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าทั้งทางด้านจิตใจของคนในชุมชน ได้แก่ วัดศรีบึงบูรพ์และกู่สมบูรณ์ 7) ด้านภาษาและวรรณกรรม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันของชาวบึงบูรพ์ คือ ภาษาลาว 8) ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี ชุมชนบึงบูรพ์มีปรัชญาความเชื่อและประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ได้แก่ บึงบูรพ์ทำบุญประจำเดือน หรือบุญฮีต 12 เช่น ประเพณีสงกรานต์ บุญบั้งไฟ บุญเข้าพรรษา บุญ ออกพรรษา บุญกฐิน บุญผ้าป่า ประเพณีลอยกระทง และ 9) ด้านอาหารและโภชนาการ ชาวบึงบูรพ์มีการถนอมอาหารให้เหมาะสม และผลิตเป็นสินค้าและบริการส่งออกได้รับความนิยมแพร่หลาย ได้แก่ ปลาส้ม
References
ขันธมาลี ยังนุวงศ์. (2560). การจัดการสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน และน้ำทิพย์ วิภาวิน. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น หน่วยที่ 1-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน. (2557). การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทีมวิจัยโครงการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้. (2554). การศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นายิกา เดิดขุนทด. (2546). ข้อมูลท้องถิ่น ความสำคัญและประโยชน์. วารสารอินฟอร์เมชั่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(1), 16-23.
มะลิวรรณ สุวรรณพฤกษ์. (2560). สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
วนิดา นเรธรณ์. (2558). การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (ม.ป.ป., 4 ตุลาคม). ประวัติอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ. https://district.cdd.go.th/buengbun/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.